THE FACTORS IS AFFECTING TO CONSUMER BEHAVIOR FOR ENVIRONMENT HOUSEHOLD FRIENDLY CLEANING PRODUCTS IN CENTRAL REGION OF THAILAND
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตภาคกลางของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่จัดจำหน่าย และส่งเสริมการตลาด 3) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค และ 4) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่จัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตภาคกลางของประเทศไทย สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน คือ Independent Sample t-test , One-way ANOVA และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.2 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง ร้อยละ 56.2 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 25,000 บาท ร้อยละ 81.9 กลุ่มตัวอย่างเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจาน ร้อยละ 56.5 ซื้อเพื่อใช้งานตามปกติ ร้อยละ 62.7 ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เพราะตนเอง ร้อยละ 79.5 จากห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 85.8 เลือกซื้อในวันที่ไม่แน่นอน ร้อยละ 50.3 เลือกซื้อ 1 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 54.1 และมีจำนวนเงินในการเลือกซื้อ 101 – 200 บาทต่อครั้ง ร้อยละ 48.4
ผลการวิเคราะห์ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านอาชีพ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พฤติกรรมผู้บริโภคด้านความถี่ในการซื้อต่อเดือน และจำนวนเงินที่ซื้อ แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ไม่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์ฯ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of KMITL Business School is available both online and in printed version.
**All articles or opinions presented in this issue of the Journal of KMITL Business School reflect the thoughts of their respective authors. This journal serves as an independent platform for a variety of viewpoints. Authors bear full responsibility for the content of their articles.**
**All articles published in this journal are copyrighted by KMITL Business School, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. The editorial team permits copying or using articles, but a reference to the journal is required.**
References
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคสีเขียว.สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563. Availablehttps: //kasikornresearch .com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Eco-Product-z3194.aspx.
ศุภลักษณ์ ช่วยชูหนู. (2564). ปัจจัยที่มีส่วนร่วมและแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดชุมพร, วารสารบริหารและจัดการ, 11(2), 37-46
สุดารัตน์ กันตะบุตร. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ไณยณันทร์ นิสสัยสุข. (2559). ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
นลินรัตน์ ถาวรเลิศรัตน์. (2551) ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษยมาส ชื่นเย็น. (2559). การรับรู้ ของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ออกแบบเพื่อสิงแวดล้อม ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นิศาชล ลีรัตนา. (2561). รูปแบบการบริโภคสีเขียวของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นนทกร กองแสงสี. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้ออาหารสุนัขสำเร็จรูประดับพรีเมี่ยมของปู้บริโภคในเขตภาคกลาง, วารสารบริหารและจัดการ, 11(2), 27-36