ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ ในเขตภาคกลางประเทศไทย

Main Article Content

นัฐพล พุทธพิทักษ์
กุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมการ เลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการ ตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ในเขตภาคกลาง ประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ พฤติกรรมการใช้บริการโรงภาพยนตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ใช้บริการโรงภาพยนตร์ใน 10 จังหวัด ที่มีโรงภาพยนตร์ มากสุดในเขตภาคกลาง ประเทศไทย จำนวน 400 คน จำนวนตัวอย่างแต่ละจังหวัดคิดจากอัตราร้อยละของจำนวนโรง ภาพยนตร์ในแต่ละจังหวัด เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ T-test และ One-way-ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ใช้บริการโรงภาพยนตร์ให้ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการ ตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.673 และมี ระดับความสำคัญการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ไม่แตกต่างกันมาก มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.704 เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้ใช้บริการให้ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ บริการโรงภาพยนตร์อยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านการบริการของโรงภาพยนตร์ลำดับที่ 1 ด้านกายภาพลำดับที่ 2 ด้าน กระบวนการลำดับที่ 3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายลำดับที่ 4 ด้านการส่งเสริมการตลาดลำดับที่ 5 ด้านบุคคลลำดับที่ 6 และด้านราคาความมีสำคัญอยู่ในระดับปานกลางลำดับที่ 7 2) พฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ ส่วนใหญ่ มีความถี่การใช้บริการโรงภาพยนตร์ไม่แน่นอน โรงภาพยนตร์ที่ใช้บริการคือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ใช้บริการโรงภาพยนตร์ วันเสาร์ – อาทิตย์ ใช้บริการช่วงเวลา 18.01 – 20.00 น. และใช้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 201 – 500 บาท 3) ผู้ใช้ บริการโรงภาพยนตร์ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีระดับความสำคัญเกี่ยวกับ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ที่แตกต่างกัน 4) พฤติกรรมการใช้บริการ โรงภาพยนตร์ของผู้ใช้บริการที่มีโรงภาพยนตร์ที่ใช้บริการแตกต่างกัน มีระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
พุทธพิทักษ์ น., & ณ ป้อมเพ็ชร์ ก. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ ในเขตภาคกลางประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 8(2), 125–150. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fam/article/view/207097
บท
บทความวิจัย

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2557). รายงานความก้าวหน้าฉบับที่ 2 โครงการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง. กรุงเทพฯ: การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

กระทรวงพาณิชย์. (2560). ส่วนแบ่งการตลาดโรงภาพยนตร์ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2561, จากhttp://www.ryt9.com/s/beco/2652802.

กรุงเทพธุรกิจ. (2559). อวสานของโรงภาพยนตร์?. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2561, จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/732534.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ครองช่าง.

จุฑามาส อมรรัตนศิริกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซีเนม่า ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2554). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ทิปพับลิเคชั่น.

ดาววดี เพชรบรม. (2557). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ 4 มิติ. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิติ จารุตามระ. (2556). ศึกษาเรื่องปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรชัย อึ้งธนไพศาล. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจโรงภาพยนตร์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551).วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา. คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2558). สถิติข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี 2558. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อนัญญา จันทร์แก้ว. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Armstrong & Kotler. (2016). Marketing: An Introduction. North Carolina: University of North Carolina.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.

Major Cineplex Group Plc. (2561). โรงภาพยนตร์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2561, จาก http://www.majorcineplex.com/cinema.

Michael R. Solomon. (2013). Consumer Behavior: A European Perspective. Boston: Pearson Prentice Hall.

SF Cinema City. (2561). โรงภาพยนตร์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2561, จาก https://www.sfcinemacity.com/cinemas.