การพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมปรากฏการณ์เป็นฐาน

Main Article Content

วิไลวรรณ จันทรบุตร
จิตรา ชนะกุล
ญาณภัทร สีหะมงคล
กิตติศักดิ์ เกตุนุติ
วัชรีย์ ร่วมคิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปรากฏการณ์เป็นฐาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 18 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านดูนบักตู้โนนตาแสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 2 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมปรากฏการณ์เป็นฐาน จำนวน 3 ปรากฏการณ์ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และ แบบทดสอบความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบของเด็กปฐมวัย จำนวน 6 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75, 0.74, 0.78, 0.77, 0.77 และ 0.79 ตามลำดับ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แบบแผน Repeated Measure Design ระยะเวลาใช้ในการวิจัยจำนวน 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Friedman Test และ Wilcoxon Signed Rank Test


ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปรากฏการณ์เป็นฐานมีความสามารถด้านการคิดเชิงออกแบบเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Downloads

Article Details

บท
Research Article

References

กลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ. (2562). หลักสูตร Science Education for Science and Mathematically Learner the Normal Lyceum of Helsinki, Faculty of Behavioral Sciences in University of Helsinki. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://pubhtml5.com/qrep/vymp/basic/

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). Bloom’s Taxonomy of Learning [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ. (2562). รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย. คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ.

นงลักษณ์ มโนวลัยเลา, อรพรรณ บุตรกตัญญู, และพงศธร มหาวิจิตร. (2564). PhenoBL การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-based Learning). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. ส.เจริญการพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2565). จาก Soft Power สู่ Design Thinking. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริขวัญ นิยมผล. (2566). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะกรอบความคิดเติบโตของเด็กวัยอนุบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมกมล บุญมี, ปิยะนุช สังคมกำแหง, ศศิเทพ ปิติพรเทพิน และวิชิร ศรีคุ้ม. (2566). การเรียนรู้ตามแนวคิด กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในบริบทชั้นเรียนปฐมวัย. นิตยสาร สสวท, 51(242), 52-54, https://emagazine.ipst.ac.th/242/52/

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2566). รายงานสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2567. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของเด็ก. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 352-353, https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/131909

อรรควิช จารึกจารีต. (2561). จิตวิทยาการเรียนรู้ Psychology of Learning. บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

Bruce, A. H. & William, R. B. (2007, August). The Role of Design Thinking in Firms and Management Education. https://www.researchgate.net/publication/237509212

David, L. (2018). Design Thinking in the Classroom. Ulysses Press. https://books.google.co.th/books?id=ask6DwAAQBAJ&printsec=frontcover&source=gbs_ge_summary_r&cad=0#v=onepage&q&f=false

Heikkilä, E. (2022). Sustainability through a Phenomenon-based learning Approach A study of student reflections. [Master’s thesis. University of Helsinki]. https://blogs.helsinki.fi/sveasusproject/iles/2022/04/Heikkila%CC%88_Emma_MastersThesis_2022.pdf

Ingo, R., Eva, K., Birgit, J., & Christoph, M. (2010). Design Thinking: An Educational Model towards Creative Confidence. First International Conference on Design Creativity, 1(1), 3-4, https://www.researchgate.net/publication/268436912_Design_Thinking_An_Educational_Model_towards_Creative_Confidence

ajani, P. N. (2019). Phenomenon-Based Learning in Finland. [Unpublished master’s thesis].University of Jyväskylä.

Teo, Y. S. (n.d.). Design Thinking (DT). https://www.interaction-design.org/literature/topics/design-thinking

Vakkas, Y. (2022). Design Thinking Model in Early Childhood Education. International Journal of Psychology and Educational Studies, 9(1), 196-210, https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1332349.pdf