การพัฒนาระบบจองบริการทางการเกษตรสำหรับเกษตรกร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการวิจัยพบว่า
1) จากการศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการระบบ พบว่า ระบบควรรวบรวมผู้ให้บริการทางการเกษตรจากหลากหลายพื้นที่มาไว้ในแพลตฟอร์มเดียว เพื่อให้เกษตรกรสามารถเปรียบเทียบบริการและราคาได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ควรมีฟังก์ชันการค้นหาที่ใช้งานง่าย แบ่งตามหมวดหมู่บริการ
2) ผลการพัฒนาระบบตามวิธีการพัฒนาระบบด้วยโมเดลเอสดีแอลซีแบบเอ็กสตรีมโปรแกรมมิ่งได้ระบบผ่านเว็บไซต์https://bsfas.comประกอบไปด้วยระบบการจัดการผู้ใช้งาน การสมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ การจองบริการ การให้คะแนนบริการ การสนทนาระหว่างผู้ใช้งาน และการประชาสัมพันธ์
3) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.13, SD=1.00) ด้านการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ คะแนนมากเป็นอันดับแรก (=4.23, SD=0.83) รองลงมาคือด้านการแสดง ข้อมูลสารสนเทศ (=4.18, SD=0.87) และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการใช้งานระบบ (=4.06, SD=1.12) สรุปได้ว่า ระบบจองบริการทางการเกษตรที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบมีฟังก์ชันที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถค้นหาบริการที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก พร้อมทั้งได้รับความพึงพอใจในด้านการออกแบบระบบและการแสดงข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเกษตรในรูปแบบออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นได้ในอนาคต
Downloads
Article Details
References
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2557). วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering). เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
จีราวุธ วารินทร์. (2562). ประยุกต์สร้างเว็บไซต์ และเปิดร้านออนไลน์ด้วย WordPress WooCommerce+Theme & Plugins ฉบับสมบูรณ์. รีไวว่า.
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการแนวคิด เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย. เอ็กซเปอร์เน็ท.
ณัฐที ปิ่นทอง. (2563). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มะม่วงอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการเกษตร. 38(1), 50-57. https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2020.4
ณัฐวรา ชั้นสกุล, สรรเสริญ ศรีเหนี่ยง, ชัชวาล เผ่าเพ็ง. (2566). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการใช้งานแอปพลิเคชันด้านการเกษตรของเกษตรกร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
นวพล ศรีวัฒนทรัพย์. (2560). การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยเทคนิคเรสพอนซิฟ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(3), 511-522. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/kmutnb-journal/article/view/170862
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. มีน เซอร์วิส ซัพพลาย. พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, ทัศนันท์ จันทร และสุรีพร บุญอ้วน. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพร. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(3), 81-92. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/241313
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 19.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ . โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย อารยพิทยา. (2565). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 7(1), 71-81. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/244423
สมพร กระออมแก้ว, กิตติ์ดนัย สกุลวรเกียรติ์ และณปภัช วรรณตรง. (2564). ระบบจองรถเพื่อการเกษตรออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราภัฏบุรีรัมย์, 5(1), 25-35. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/scibru/article/view/244233
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ (ฉบับย่อ). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2566). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). ซีเอ็ดยูเคชั่น.