การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบยืดหยุ่น 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบยืดหยุ่น และ 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสาน แบบยืดหยุ่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคยโสธร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ จำนวน 27 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการวางแผนและการออกแบบการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ปัญหาการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือ ด้านการวางแผนและการออกแบบการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ส่วนด้านที่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวางแผนและออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรมการเรียนการสอน มี 5 ขั้นตอน คือ 4.1) ขั้นนำ 4.2) ขั้นสอน 4.3) ขั้นกิจกรรม 4.4) ขั้นสรุป และ 4.5) ขั้นประเมินผล และ 5) การวัดและประเมินผล ด้านความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า ประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบยืดหยุ่น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.97/82.65 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 และมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับ การสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความพึงพอใจในภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 และมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.77 ซึ่งมากกว่า 0.50 ขึ้นไป จึงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.
ฉัตร์นิพัฒน์ คำบ้านฝาย. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาไทยฐานชุมชนด้วยการบูรณาการแหล่งเรียนรู้ทางคติชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_typetitle&titleid=648653
ชนันท์ธิดา ประพิณ, กอบสุข คงมนัส, ช่อบุญ จิรานุภาพ และวารีรัตน์ แก้วอุไร (2560) การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 299-317. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/96932
ชูจิง เฉิน. (2557). การอ่านภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศผ่านบล็อกโดยการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ฐิตินันท์ ดาวศรี, พรนภา ทิพย์กองลาด, พีรพล เข็มผง, สมเชาว์ ดับโศรก, สุทธิดา เพ่งพิศ, วรวัฒน์ วิศรุตไพศาล และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 11(1), 59-74. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/HU-J/article/view/692
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2560). เปิดประเด็น: เหลียวหลังแลหน้าการศึกษาไทย 4.0. วารสารครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45(2), 304-309. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/107270
เพชรพยอม ภาวสิทธิ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยให้ผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
ทิศนา แขมมณี. (2544). วิธีการสอนสําหรับครูมืออาชีพ. บริษัท เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันยชนก ปะวะละ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านการเรียนรู้ด้วยไอซีที เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=594183
นวรัตน์ สิทธิมงคลชัย. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมจินตนาการสร้างสรรค์และผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=627717
เบญจภัค จงหมื่นไวย์, ประวิทย์ สิมมาทัน, และสนิท ตีเมืองซ้าย. (2565). การพัฒนาความสามารถทางการคิดแบบมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานยืดหยุ่นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(10), 458-475. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/255773
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. สุวีริยาสาส์น.
ศิโรจน์ ผลพันธิน, สุขุม เฉลยทรัพย์, จิระ จิตสุภา และวีณัฐ สกุลหอม. (2565). การเรียนแบบผสมผสานและยืดหยุ่น : การจัดการเรียนแบบพลวัตในภาวะถดถอยทางการศึกษา. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 3(2), 18-29. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247310
ศุภักษร ฟองจางวาง และ กอบสุข คงมนัส. (2559). การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษาจาวาสคริปต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Veridian E-Journal, 9(3), 937-953. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/74268
สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานที่มีพี่เลี้ยงออนไลน์สนับสนุนที่ส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาสำหรับศึกษาปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=619140
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
อรรถพล สังขวาสี, พา อักษรเสือ, และชัยยุทธิ์ ศิริสุทธิ์. (2564). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565-2574). วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 221-234. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/252640
อิทธิชัย อินลุเพท. (2564). การพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และการซ่อมบำรุง ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ. [รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=602542
Beatty, B. J. (2022). Hybrid-flexible course design: implementing student-directed hybrid classes. https://edtechbooks.org/pdfs/print/hyflex/_hyflex.pdf
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. Pearson Education, Inc.
Tomlinson, C. (2001). How to Differentiate Instruction in Mixed-Ability Classrooms. (2nd ed). Association for Supervision and Curriculum Development.
Wiggins, G. & McTighe, J. (1998). Understand by design. Association for Supervision and Curriculum Development.