การพัฒนาความสามารถทางการคิดแบบมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานยืดหยุ่นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

เบญจภัค จงหมื่นไวย์
ประวิทย์ สิมมาทัน
สนิท ตีเมืองซ้าย

บทคัดย่อ

          การเรียนรู้แบบผสมผสานยืดหยุ่น โดยผสมผสานการเรียนที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน  และคนละเวลากัน การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อพัฒนาความสามารถทางการคิดแบบมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานยืดหยุ่นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับสำนักงานอัตโนมัติ จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนบริหารการสอน, แบบประเมินคุณภาพของแผน, แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดแบบมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์การเรียน, แบบสอบถามความพึงพอใจสู่
การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่าความสัมพันธ์ (r) ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพของแผนบริหารการสอน อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.61), (S.D. = 0.36) ความสามารถทางการคิดแบบมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักศึกษา โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนระหว่างความสามารถทางการคิดแบบมีวิจารณญาณกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( = 4.33), (S.D. = 0.84) ทั้งความรวดเร็วในการทำงานของระบบ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ความยากง่ายในการใช้ระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2559). เมื่อ Thailand 4.0 ถูกขับเคลื่อนด้วย Education 2.0. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2562. แหล่งที่มา http://apps.qlf.or.th/

เกษม เมษินทรีย์. (2559). โลกเปลี่ยน ไทยปรับ. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ.

กิตติพันธุ์ วิบูลย์ศิลป์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาคหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm shift). กรุงเทพมหานคร: กระทรวง.

คชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่าง

สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหาของนิสิตระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เจษฎา ประวาลปัทม์กุล, วัชรวลี ตั้งคุปตานนท์ และสุนทร วิทูสุรพจน์. (2552). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มด้วยโรโบมายด์สำหรับการเรียนเขียนโปรแกรม. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. 5 (10), 1-6.

ณัซรีน่า อุเส็น. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการเรียนรู้ด้วยตนเองและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28 (1), 156-166.

ณมน จีรังสุวรรณ. (2558). หลักการออกแบบและการประเมิน Instructional Design and Assessment. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2552). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

ไพรฑูรย์ พิมดี, พรชัย เจดามาน และคณะ (2560). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 16 (2), 92-98.

รายงานการวัดและประเมินผลในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับสำนักงานอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2561). ผลคะแนนประเมินในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับสำนักงานอัตโนมัติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์ .

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. Alexandria, VA: International Society for Technology in Education.

Bonk et al. (2014). Motivations, Achievements, and Challenges of Self-Directed Informal Learners in Open Educational Environments and MOOCs. Online. Retrieved from https://jl4d.org/index.php/ejl4d/rt/printerFriendly/195/188.

Cusins, P. (1996). Action learning revisited. The Journal of Workplace Learning, 8 (6), 19-26.

Delaney. (2003). The High School Curriculum. New York : The Ronald Press.Rene Alimisi, Dimitris Alimisis, Emmanouil Zoulias,

EDUMOTIVA and Greece. (2017). curriculum for blended (online and face to face) training course for teachers. Online. Retrieved from https://roboesl.eu/wp-content/uploads/ 2017/08/O2-1.pdf.

Rizk, L. (2011). Learning by doing: Toward an experiential approach to professional development. Cairo, Egypt.

Siemens, G. (2005). Connectivism: A learning theory for the digital age. International journal of instructional technology and distance learning, 2 (1), 3-10.