การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเขียนโปรแกรมแบบบล็อก เรื่อง การสร้างแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วันวิสาข์ สว่างดี
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล
ณัฐพล รำไพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเขียนโปรแกรมแบบบล็อก เรื่อง การสร้างแอปพลิเคชัน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จังหวัดราชบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 39 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียนอีเลิร์นนิง 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนอีเลิร์นนิง 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม 6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ t-test


ผลการวิจัยพบว่า


1)บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเขียนโปรแกรมแบบบล็อก เรื่อง การสร้างแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด


2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3)ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4)ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (equation=4.54, S.D.=0.69)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566, 4 มกราคม). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กระทรวงศึกษาธิการ. https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

ทัศนีย์ ธราพร, อารัมภ์ เอี่ยมละออ และ เบญจวรรณ รุ่งเรืองศุภรัตน์. (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) กับอนาคตการจัดการศึกษาสำหรับสังคมในแบบฐานวิถีชีวิตใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 25-39.

นภาภรณ์ เจียมทอง และ เปรมพล วิบูลย์เจริญสุข. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4), 572-586. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/260066

นฤมล มีมุข. (2565). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบผสมสานโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/4357/1/620620131.pdf

บัณฑิตา จันทมาส และ สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2565). การพัฒนาอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนเบื้องต้น เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(16), 109-121. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/257587

มาโนชญ์ แสงศิริ. (2562, 8 กุมภาพันธ์). Thunkable เว็บไซต์สร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับมือใหม่. คลังความรู้ SciMath. https://www.scimath.org/article-technology/item/9099-thunkable

วีระพงษ์ จันทรเสนา และ มานิตย์ อาษานอก. (2563). ผลการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โปรแกรมเชิงจินตภาพที่ส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถการเขียนโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 1-13. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/240162

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

สายฝน เสกขุนทด. (2564). แนวทางการเรียนรู้อีเลิร์นนิงภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19). วารสารราชนครินทร, 18(2), 11-22. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Jrru/article/view/256572

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

อภิณห์พร สถิตภาคีกุล. (2561). การออกแบบการเรียนการสอน : ทักษะเพื่อความสำเร็จของครู. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช [ฉบับพิเศษ], 10, 107-115. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/121153

อรพรรณ คงมาลัย และพุทธิกา ชมไม้. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคำสั่ง (Block based programming) ในโรงเรียนไทย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 34(2), 46-59. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/252245

Code Genius Academy. (2566, 14 กรกฎาคม). Block Programming คืออะไร? มาเริ่มเขียนโปรแกรมง่าย ๆ ด้วย coding สำหรับเด็กกัน!!. Code Genius. https://codegeniusacademy.com/block-programming/