การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความคิดเชิงออกแบบเป็นแนวคิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรม เนื่องจากความคิดเชิงออกแบบเป็นเครื่องมือสำหรับนวัตกรในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในโลกนี้ ดังนั้นแล้วการพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การนำแนวคิดเชิงออกแบบมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม การประยุกต์ใช้ความคิดเชิงออกแบบเพื่อการจัด
การเรียนรู้จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เลือกใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา นอกเหนือจาก
การวางแผนจัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แล้วนั้น ครูควรคำนึงถึงความสอดคล้องต่อพัฒนาการของนักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ครูควรพิจารณาทางด้านเนื้อหาที่มีความเหมาะสม รวมไปถึงทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้นักเรียนมีทั้งความรู้และทักษะที่ติดตัวไปตลอดชีวิต
บทความวิชาการนี้มุ่งเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงออกแบบ หลักการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตลอดจนกระบวนการในการนำแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนในระดับประถมศึกษาที่สอดคล้องกับทักษะในศควรรษที่ 21
Article Details
References
ทัศนีย์ แซ่ลิ้ม. (2564). ออกแบบชีวิตด้วยการคิดเชิงออกแบบ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา : https://www.thekommon.co/design-thinking-viriya-taew/
ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยาและชูจิต ตรีรัตนพพันธ์. (2560). Design thinking: learning by doing การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สร้างสรรค์งาน ออกแบบ (TCDC).
ยศวีร์ สายฟ้า. (2555). แนวการปฏิบัติที่เหมาะสมตามพัฒนาการ (Developmentally Appropriate Practice) ในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น: จากกรอบแนวคิดทฤษฎีสู่หลักการปฏิบัติที่เหมาะสม. วารสารครุศาสตร์, 34(2), 120-129.
วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรม การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(2), 3-14.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา : https://ops.moe.go.th/%
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม. 8 (1), 1-17.
Goldschmidt, G., & Rodgers, P. A. (2013). The Design Thinking Approaches of Three Different Groups of Designers Based on Self-reports. Design Studies. 34 (4), 454- 471.
Kleinsmann, M., Valkenburg, R., & Sluijs, J. (2017). Capturing the value of design thinking in different innovation practices. International Journal of Design. 11 (2), 25-40.
Rauth, E. Köppen, B. Jobst and C. Meinel. (2010). Design Thinking: An Educational Model towards Creative Confidence.See website of the d.school in Stanford: Online. Retrieved December 12, 2022. From http://dschool,stanford.edu/big_picture/
design_thinking.php
Copple, C., & Bredekamp, S. (2009). Developmentally appropriate practice in early childhood programs serving children from birth through age 8. National Association for the Education of Young Children. 1313 L Street NW Suite 500, Washington, DC 22205-4101.