ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อครูนวัตกร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

อนุพงษ์ กิคอม
ประมุข ชูสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อครูนวัตกร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 144 คน และครู จำนวน 2,335 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาอุดรธานี รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,479 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน และครู จำนวน 311 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาอุดรธานี รวมทั้งสิ้นจำนวน 331 คน โดยได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับครูนวัตกร สถิติที่ได้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อครูนวัตกร ได้แก่ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือดิจิทัล (X6), การบริหารจัดการองค์กรดิจิทัล (X4), การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (X2), การสื่อสารดิจิทัล (X5), วัฒนธรรมดิจิทัล (X3) และทักษะการเรียนรู้ดิจิทัล (X1) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (ค่าบ่งบอกความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและครูนวัตกร) เท่ากับ 0.915 ซึ่งหมายความว่าตัวแปร ทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน และมีค่าสัมประสิทธิ์อำนาจพยากรณ์ครูนวัตกร (ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อครูนวัตกร) ร้อยละ 83.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถสร้างสมการถดถอย ในรูบคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้


สมการในรูปคะแนนดิบ


Y = 0.409 + 0.564(X6) + 0.130(X4) + 0.102(X2) + 0.081(X5) + 0.070(X3) + 0.032(X1)


สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน


Zy = 0.643(ZX6) + 0.163(ZX4) + 0.131(ZX2) + 0.105(ZX5) + 0.91(ZX3) + 0.055( ZX1)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

โกศล ภูศร. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ขนิษฐา ม่วงศรีจันทร์. (2564). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จิตรกร จันทร์สุข และจีรนันท์ วัชกุล. (2563). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นําดิจิทัลสำหรับ ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. ขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 388-403. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/255423

จิติมา วรรณศรี. (2564). การบริหารจัดการศึกษายุคดิจิทัล. รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2564). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิพย์สุคนธ์ สมรูป. (2565). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อครูนักนวัตกร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นวพร ชลารักษ์, สมเกียรติ อินทสิงห์, นทัต อัศภาภรณ์ และสุนีย์ เงินยวง (2564). องค์ประกอบความเป็นครูนักนวัตกร ในการศึกษายุคดิจิทัลเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(3), 94-108. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/cmruresearch/article/view/247707

ปุญญฤทธิ์ วิทยอุดม. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ประพันธ์ คชแก้ว และนัยนา เกิดวิชัย. (2562). นวัตกรรมการบริหารองค์การในยุคดิจิทัล.วารสาร มจร มนุศาสตร์ ปริทรรศน์, 5(1), 131-142. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/172467

ภูรีรัตน์ สุกใส. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์ และภาสกร เรืองรอง. (2564). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะนวัตกรของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 80-92. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/249255

มูฮําหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง และนิรันดร์ จุลทรัพย์. (2564). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติครั้งที่ 13, 13(1), 935-1,946. https://www.hu.ac.th/Conference/conference2022/proceedings/doc/07%20การศึกษา/44-Ed-113%20(1935%20-%201946).pdf

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.

วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง. (2566). สร้างนวัตกรเพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (2565, 30 กันยายน). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. กลุ่มนโยบายและแผน. https://sites.google.com/sesaud.go.th/planud/mission

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุชญา โกมลวานิช. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. https://app.gs.kku.ac.th/images/img/support/grc2020/pdfabstracts//HMO16.pdf

ไสว วีระพันธ์ และธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุควิถีใหม่. วารสารการบริหารการศึกษา มมร. วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(1), 99-109. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/RJGE/article/view/2012

อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Damayanti, F. P., & Mirfani, A. M. (2021). An Analysis of Digital Leadership in the Pandemic Covid-19 Era. In 4th International Conference on Research of Educational Administration and Management (ICREAM 2020). 156-159. https://www.atlantis-press.com/article/125952613.pdf

Dyer, J., & Gregersen, H. (2011). The Innovator’s DNA: Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators. Massachusetts.

Hero, L-M., Lindfors, E., & Taatila, V. (2017). Individual innovation competence: A systematic review and future research agenda. International Journal of Higher Education, 6(5), 103-121. https://doi.org/10.5430/ijhe.v6n5p103

Klaic, A., Burtscher, J. M., & Jonas, K. (2020). Fostering team innovation and learning by means of team-centric transformational leadership: Therole of teamwork quality. Journal of occupational and organizational psychology, 93(1), 942-966, https://doi.org/10.1111/joop.12316

Kieu, P. (2017). 8 Skills make a successful innovator. https://sociable.co/business/innovation-8-skills.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3). 607–610, https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/001316447003000308

Sheninger, E. (2014). Pillars of Digital Leadership in Education. http://leadered.com/pillars-of-digital-leadership/

Toduk, Y. (2014). 2023 Lideri-Dijital Çigın Liderlik Sırları. istanbul: DoganEgmont Yayınları.