การศึกษาผลการใช้บทเรียน e-learning ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ต่อความเข้าใจของผู้เรียน เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้บทเรียน e-learning ก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสืบเสาะหาความรู้ของผู้เรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน e-learning กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียน e-learning โดยการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบบันทึกพฤติกรรมผู้เรียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่ใช้บทเรียน e-learning สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, และ การทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการเปรียบเทียบความเข้าใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียน e-learning เรื่อง คุณธรรมจริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) พฤติกรรมการสืบเสาะหาความรู้ผ่านบทเรียนอยู่ในระดับดี (=2.26, S.D.=0.10) และ
3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน e-learning โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (=4.21, S.D.=0.34)
Downloads
Article Details
References
การละเมิดลิขสิทธิ์ในสถานศึกษา. (2555, 28 กุมภาพันธ์). Mediathailand. https://www.mediathailand.org2012/02/blog-post.html
จิตลดา รักน้อย, และวรวุฒิ มั่นสุขผล (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 43-56. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jsrc/article/view/249064
ณัฏฐนนท์ แก้วมูล, อาพัทธ์ เตียวตระกูล, และมรกต แสนกุล (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในรายวิชาฟิสิกส์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ Google classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(1), 12-21. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/263944
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2560, 21 ธันวาคม). จริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Ethics for Using Information Technology. Thaimooc. https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:RU+RU001+2017/course/
พัชรินทร์ แก้วมาเมือง, และอำนาจ บุญประเสริฐ. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 24(1), 179–190. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jsrc/article/view/259675
พิชิต ขวัญทองยิ้ม. (2565). การศึกษาระบบ E-Learning เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในเขตกรุงเทพมหานครสู่มาตรฐานระดับสากล. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ, 1(1), 37-51. https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JEITS/article/view/987
พิเชษฐ เทบำรุง. (2562). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 252-271. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/196391
วิรัตน์ ขันเขต, ศรัณย์ ภิบาลชนม์, และกิตติมา พันธ์พฤกษา (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) โดยใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 286-300. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/217992
วชิระ ทองสุข. (2566, 8 กันยายน). ลิขสิทธิ์ บนโลกออนไลน์ ทำอย่างไรไม่เสี่ยงละเมิด?. https://talkatalka.com/blog/what-is-copyright-on-the-internet/
สมชาย รัตนชื่อสกุล. (2560, 10 ตุลาคม). โครงการอบรมกฎหมายและกระบวนวิธีพิจารณาในชั้นศาลเบื้องต้นสำหรับครู อาจารย์และผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษารุ่นที่ 1. https://shorturl.asia/R2Yg0