การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้วย ClassPoint เรื่องการแสดงอัลกอริทึมในการแก้ปัญหา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

นารา อ่ำศรี
ศรินย์พร ชัยวิศิษฏ์
บุญรัตน์ แผลงศร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยClassPointเรื่องการแสดงอัลกอริทึมในการแก้ปัญหาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้เรื่องการแสดงอัลกอริทึมในการแก้ปัญหาบนโปรแกรม Microsoft PowerPoint ด้วย ClassPoint ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์การประเมินสื่อการเรียนรู้ระดับดีมาก 2) ศึกษาเจตคติ ของนักเรียนที่เรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชัน 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการแก้ปัญหา ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ประจำปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองตะโก จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) สื่อการเรียนรู้รูปแบบ เกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อ 3) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา 4) แบบวัดเจตคติ ต่อการเรียนรู้รูปแบบเกมมิฟิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า


1) คุณภาพสื่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก


2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญที่ .05


3) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันในแต่ละข้อคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยว่าสื่อการเรียนรู้รูปแบบเกมมิฟิเคชันสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชนัตถ์ พูนเดช, และ ธนิตา เลิศพรกุลรัตน์. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดเกมมิฟิเคชัน.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 331-339.

ณรงค์ กาญจนะ. (2553). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โปรแกรมวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ฐากูร บุญสาร. (2560). โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนกัลป์ยาณวัตร. วิทยานิพนธ์คอมพิวเตอร์ศึกษาบัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปิยภาณี หนูนุ่น และ คุณัชญ์ สมชนะกิจ. (2564). การพัฒนาทักษะการจำคำศัพท์ฮิระงะนะโดยใช้ชุดพัฒนาคำศัพท์สำหรับนักเรียนแผนการเรียนศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12

พัทธ์ธีรา โสมบันดิด, สายสุนีย์ จับโจร และ เบญจภัค จงหมื่นไวย์. (2566). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เกมมิฟิเคชันในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะเพื่อการแก้ปัญหาสำหรับรายวิชาการคำนวณ. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 9 (1), 143-155.

พิชญ์ อำนวยพร, เสกสรร แย้มพินิจ, โสพล มีเจริญ และ ศุภลักษณ์. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเภทเกมโดยใช้กลยุทธ์เกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), 68-78. .

สุดเฉลิม ศัตราพฤกษ์. (2553). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐานเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โอ เดียนสโตร์.

Huett, J. B., Young, J., Huett, K., Kimberly, C., Moller, L. & Bray, M. (2008). Supporting The Distant Student: The Effect of ARCS-Based Strategies on Confidence and Performance. The Quarterly Review of Distance Education, 9(2), 113-126.

Mikel Resaba (2013). 9 Epic Fun Classroom Management Strategies Using ClassPoint. https://www.classpoint.io/blog/th/9-กลุยุทธ์การจัดการห้องเร.

Starfish Academy. (2566). เครื่องมือสร้างข้อสอบง่าย ๆ ด้วยโปรแกรม ClassPoint บน PowerPoint. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com/blog/956-เครื่องมือสร้างข้อสอบง่ายๆ-ด้วยโปรแกรม-classpoint-บน-powerpoint