ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม : สมรรถนะสำคัญสำหรับครูในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดค้นนวัตกรรมถือเป็นสมรรถนะที่สำคัญที่ครูุจะต้องมีการพัฒนาซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 โดยถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือเป็นยุคดิจิทัล ซึ่งครูที่มีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมย่อมมีความสามารถนำหน่วยงานหรือองค์กรด้วยสิ่งใหม่และสร้างโอกาสใหม่ได้เสมอจากการศึกษาสมรรถนะของครูด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในยุคดิจิทัลสามารถสังเคราะห์องค์ประกอบหลัก 3 ด้านได้แก่ 1) ทักษะความคิดสร้างสรรค์ 2) ทักษะการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น และ 3) ทักษะ การสร้างนวัตกรรม ทั้งนี้การบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาสมรรถะทางด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับครูนั้น สามารถดำเนินการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ พร้อมทั้งการพิจารณาปัจจัยร่วมจำนวน 6 ด้าน ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนในการพัฒนาครูให้มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านขวัญกำลังใจ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม เพื่อกำหนดแนวทางขับเคลื่อนการบริหารอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป
Downloads
Article Details
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). ความคิดสร้างสรรค์ หลักการทฤษฎี การเรียนการสอน. การวัดผลประเมินผล. กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
จิติมา วรรณศรี. (2564). การบริหารจัดการศึกษายุคดิจิทัล. โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2565). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. สมศักดิ์การพิมพ์.
ธีระ รุญเจริญ. (2557). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. เอ็กเปอร์เน็ท .
ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2565). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชญาพร พีรพันธุ์, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2565). กรอบแนวคิดศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ .Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(2), 306-318. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/258369
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 2). เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2560). กระบวนทัศน์การโค้ชเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. บริษัท21เซนจูรี่จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. พริกหวานกราฟฟิค.
สืบสกุล นรินทรางกูล ณ อยุธยา. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาแนวใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอมอร จันทะคาม.(2564). สมรรถนะหลักของครูผู้สอนยุคดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 694-706.
อาฉ๊ะ บิลหีม. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบร่วมกับเกมมิฟิเคชันด้วยแพลตฟอร์มจักรกลสนทนาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. [ปริญญาปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Brown, T. (2009). Change by Design: How Design Thinking Creates New Alternatives for Business and Society. HarperBusiness.
Fullan, M., & Langworthy, M. (2014). A Rich Seam: How New Pedagogies Find Deep Learning. Pearson.
Kelley, T., & Kelley, D. (2013). Creative Confidence: Unleashing the Creative Potential Within Us All. Crown Business.
Mishra, P., & Koehler, M. J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A framework for teacher knowledge. Teachers College Record, 108(6), 1017–1054.
Partnership for 21st Century Learning a network of Battelle for kids. (2019). https://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_Framework_DefinitionsBFK.pdf
Tran, N. (2016). Design Thinking Playbook for Change Management in K12 Schools. https://issuu.com/normantran2001/docs/design_thinking
Wang, F. (2020). Emerging Technologies and Pedagogies in the Curriculum. Springer.