การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสามเหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสามเหลี่ยม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสามเหลี่ยม ก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนการสอน มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (=4.71, S.D.=0.35) 2. แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 จำนวน 38 คน โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Ramdom Sampling) แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1.การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสามเหลี่ยม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.43/77.24 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2.นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาอยู่ในระดับมาก (=4.41, S.D.=0.56)
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) https://www.rbss.ac.th/site/?page_id=4052
คณิศร พานิช และปรียา บุญญสิริ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นภสร ยั่งยืน และชำนาญ ปาณาวงษ์. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการโพลยาร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดลเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 67-79. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13234
นฤมล อำมะรา, สุรีพร อนุศาสนนันท์ และณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์. (2561). การสร้างแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(1), 251-262. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/185823
รัฐพงศ์ คงพินิจ (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบราเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วรรณิกา อ่อนน้อม และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(6), 200-215. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249326
วรางคณา สำอาง, พรชัย ทองเจือ และผ่องลักษม์ จิตต์การุญ (2562). เรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดของโพลยาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 52–61. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/90659
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560).
เอกภพ เฟื่องสำรวจ. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/157
In’am, A. (2014). The Implementation of the Polya Method in Solving EuclideanGeometry Problems. International Education Studies, 7(7), 149-158. https://doi.org/10.5539/ies.v7n7p149
Phuntsho, U. & Dema, Y. (2019). Examining the Effects of Using Polya’s Problemsolving Model on Mathematical Academic Achievement and Analyzing Ability of the Fourth Grade Students. Phuntsho and Dema; AJESS, 5(2), 1-8. https://doi.org/10.9734/ajess/2019/v5i230142
Polya, G. (1957). How to solve it. Princeton University.
Sukoriyanto, S., Nusantara, T., Subanji, S. & Chandra, T. (2016). Students’ Errors in Solving the Permutation and Combination Problems Based on Problem Solving Steps of Polya. International Education Studies, 9(2), 11-16, https://doi.org/10.5539/ies.v9n2p11