การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

วรรณิกา อ่อนน้อม
ดุจเดือน ไชยพิชิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพัฒนาการศึกษา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 จำนวน 31 คน รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ และ 4)แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา จำนวน 10 ข้อ
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา มีคะแนนเฉลี่ย 20.26 คิดเป็นร้อยละ 81.03 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 90.32 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา มีคะแนนเฉลี่ย 15.64 คิดเป็นร้อยละ 78.22 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 90.32 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
          3. แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 อยู่ในเกณฑ์ระดับดี เมื่อพิจารณาแต่ละด้านของกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ด้านบรรยายกาศการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย 3.92 อยู่ในเกณฑ์ระดับดี ด้านกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย 3.90 อยู่ในเกณฑ์ระดับดี และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย 3.72 อยู่ในเกณฑ์ระดับดี


         

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธนิษฐา เพ็ชร์ช้าง, สุภาพร สุขเสริญ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัชรินทร์ ทิตะยา. (2561). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทยปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการ แก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (TAI) ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลักขณา ภูวิลัย. (2552). ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชุดา มาลาสาย. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสว่างแดนดิน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการในโครงการวิจัยและพัฒนานวตักรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561.

วรางคณา สำอางค์, พรชัย ทองเจือ และผ่องลักษม์ จิตต์การุญ. (2558). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนกัเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม .

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). ค่าสถิติแยกตามสาระการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนปีการศึกษา 2560 (O-NET). กรุงเทพมหานคร.

โสมภิลัย สุวรรณ์. (2554). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลลำพูน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.