การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี

Main Article Content

อภิชัย สุขโนนจารย์
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ทดสอบประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์กับนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาทักษะปฏิบัติของนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์ กับนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิจัยในครั้งนี้ มีจำนวน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แล้วทำการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวน 21 คน กำหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มที่ 2 จำนวน 20 คน กำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์ จำนวน 4 แผน แผนละ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 4 แผน แผนละ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง 2) บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 4) แบบวัด ความสามารถในการพัฒนาทักษะปฏิบัติ จำนวน 3 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิต จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test for Independent Sample


ผลการวิจัยพบว่า


1.ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คือ 82.86/81.43 เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดไว้


2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์สูงกว่านิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


3. ผลความสามารถในการพัฒนาทักษะปฏิบัติของนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับด้านร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์สูงกว่านิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4. ความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ การสอนทักษะปฏิบัติโดยใช้บทเรียนออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรรณิการ์ ดิษชกรร. (2565). การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ Google Site ในรายวิชาวอลเลย์บอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสรรพวิทยาคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

กัณฐิมา กาฬสินธุ์, สัญชัย พัฒนสิทธิ์ และณัฐพล รำไพ. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับด้าน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั่นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(16), 158-170. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/258703

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559, 24 พฤศจิกายน). อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0. RBRU Academy./http://www.academy.rbru.ac.th/uploadfiles/books/166-2017-07-21-11-25-36.pdf

จักรพงษ์ คุชิตา. (2564). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการขายเบื้องต้น โดยใช้บทเรียนออนไลน์ประกอบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการจัดการเรียนรู้อีเลิร์นนิงในทุกระดับ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐปคัลภภ์ กิตติสุนทรพิศาล. (2561). รายงานการวิจัย เรื่อง การออกแบบการสอนห้องเรียนกลับด้านโดยเน้นทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลรัตนโกสินทร์.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2554). การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียน การสอน. สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่ง ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/241830

ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว, สุกัญญา สมมณีดวง และรัตนา บุญเลิศพรพิสุทธิ์. (2563). การสังเคราะห์รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ วิชาคอมพิวเตอร์ ตามแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของ เดวีส์ แฮร์โรว์ และซิมพ์สัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 1(10), 40-50.

นิตยา เปล่งเจริญศิริชัย และทรงวุฒิ ศรีรัตนมงคล. (2560). เทคโนโลยี MOOCs สำหรับการศึกษาออนไลน์. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน, 23(3), 521-531. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/240846

เบญจพร ตีระวัฒนานนท์. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การสร้างภาพกราฟิก โดยโปรแกรมนำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยุภาพร ด้วงโต้ด. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรรณกาญจน์ บุญยก. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

สุรัชนา ช้างชายวงค์ และธงชัย อรัญชัย. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้แอปพลิเคชันงานชั้นเรียน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), 23-35. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/254663

Dave, R. H. (1970). Psychomotor levels in developing and writing behavioral objectives. Educational Innovators.

Harrow, A. (1972). A taxonomy of psychomotor domain: a guide for developing behavioral objectives. David McKay.

Simpson, E. J. (1972). The classifcation of educational objectives in the psychomotor domain. Gryphon House.