การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้แอปพลิเคชันงานชั้นเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้แอปพลิเคชันงานชั้นเรียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด ห้องเรียนกลับด้าน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้แอปพลิเคชันงานชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสหวิทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถาม ความพึงพอใจ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1) กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้แอปพลิเคชันงานชั้นเรียนมีประสิทธิภาพ 78.14/76.37 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยใช้แอปพลิเคชันงานชั้นเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.27, S.D. = 0.80)
Downloads
Article Details
References
กรวรรณ สืบสม, และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-july-2560/12_15_flip%20class%20room _proof2_formatted .pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กฤษฎาวัฒน์ ทรัพย์กุล, ชนกกานต์ สหัสทัศน์, และปนัดดา สังข์ศรีแก้ว. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการใช้เฟซบุ๊กในรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 3(2), https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/240336
กิตติพันธ์ วิบูลศิลป์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 171-181.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), http://www4.educ .su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf
ฐานิตา ลิ่มวงศ์, และยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2562). ห้องเรียนกลับด้าน : การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21. วารสาร Mahidol R2R
e-Jornal, 6(2), DOI: https://doi.org/10.14456/jmu.2019.10
ณัฏฐสิน ตลิ่งไธงสง. (2562). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 6(1), https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/ view/156220
บุญยงค์ ตาลวิลาส สำราญ กำจัดภัย และอุษา ปราบหงษ์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือแบบ TAI เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(33), https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=810
เบญจพร สว่างศรี, และชยุติ เมฆอุไร. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางแบบกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และการเรียนรู้ด้วยตนเอง. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 4. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ปัทวรรณ ประทุมดี, และกันยารัตน์ สอนสุภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การเคลื่อนที่ 2 มิติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(2), 193-209.
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์, และสุกัญญา พาเสน่ห์. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(1), 145-153.
ยุภาพร ด้วงโต้ด, และรสริน เจิมไธสง. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 12(2), https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/149304
วสันต์ ศรีหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(65), https://so02.tci-thaijo.org/index. php/SNGSJ/article/view/95762
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564, 25 มีนาคม). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์). PISA THAILAND. https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560, 28 พฤศจิกายน). รายงานผลการวิจัยโครงการTIMSS 2015.TIMSS THAILAND. http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/timss2015report
สุมาลี ชัยเจริญ. (2549). ชุดการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์. คลังนานาวิทยา.
สุรชัย สุขรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(11), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/ view /249 046
อดิศร ภัคชลินท์. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกรณีศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ที่ส่งผลต่อทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมภาษาซีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกลับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Digital Library, http://ithesis-ir.su.ac.th /dspace/handle/123456789/2257
อัญญาณี สุมน, และอุทิศ บำรุงชีพ. (2561). วิถีแห่งการคิดทางคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับการศึกษาไทย 4.0. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13(2), http://ojslib3.buu.in.th/index.php/social/article/view/5114
Crockett, L. (2018, 14 April). 5 Strategies for Building a Successful Flipped Math Class. https://blog. future focused learning.net/5-strategies-flipped-math-class
Durong, E. R., Rana, A. J. D., Basiliote, M. R., & Moneva, J. C. (2018). Effectiveness of Flipped Classroom in General Mathematics. Educational Technology & Society, 19(3), https://www.ijsr.net/archive/v7i12/ART20 192943.pdf
Ramakrishnan, N., & Johnsi P. J. (2016). Effectiveness of Flipped Classroom in Mathematics Teaching. International Journal of Research–Granthaalayah, 4(10), 57-62, https://doi.org/10.29121/ granthaalayah.v4.i10(SE).2016.2469