การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ โดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ ของนักศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3)เปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4)ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ โดยใช้เทคนิค SQ4R 2) แบบวัดทักษะการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยเป็นแบบทดสอบปรนัย 20 ข้อ 3) แบบทดสอบทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยเป็นแบบทดสอบปรนัย 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1)การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ด้านการออกแบบและด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า อยู่ในระดับเหมาะสมมากและบทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.11/82.78 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2)นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3)นักศึกษามีคะแนนของการวัดทักษะการอ่านจับใจความหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4)นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยรวมแล้วอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กรกนก ยงค์โภชน์. (2561). บทเรียนออนไลน์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กฤษณะ โฆษชุณหนันท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยวิธี เอส คิว โฟร์ อาร์ (SQ4R) และการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
กศน.จังหวัดหนองบัวลำภู. (2553). คู่มือการปฏิบัติงาน ครู กศน.ตำบล. สำนักงาน กศน.จังหวัดหนองบัวลำภู.
กิตติพงษ์ โพธิ์สุวรรณ. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตร์สากล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.
จริญญา หมื่นหนู. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชนอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จิตรลดา อ้นวงษา. (2561). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง แม่กลองบ้านเรา โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 49-63. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/178113
จีราภรณ์ ขำมณี. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 13-23.
เพ็ญนภา พินิจกิจ. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนแบบ QAR และเทคนิคผังความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุพิน นารีหวานดี. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่องการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2016 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 1(2), 32-40.
วรรณกาญจน์ บุญยก, ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี และกฤษณา คิดดี. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง, 17(2), 32-40. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/145084
วราวรรณ นันสถิตย์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(4), 73-85. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/254132
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565, 7 มีนาคม). ประกาศผลสอบ N-NET. สทศ NIETS. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3037
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2565). สรุปผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565. สถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สรเดช บุญประดิษฐ์, ธนีนาฎ ณ สุนทร และชุติมา วัฒนะคีรี. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่าน จับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบแผนภูมิ ความหมายและการสอนทักษะการอ่านแบบ SQ4R. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 38(103), 54-69. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/249815
สายรุ้ง กิมยงค์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงาน กศน. (2554). หนังสือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาภาษาไทย (พท31001) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สำนักงาน กศน.
สำนักงาน กศน.จังหวัดหนองบัวลำภู. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สำนักงาน กศน. จังหวัดหนองบัวลำภู.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2555). คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555).
สำนักงาน กศน. (2566). จุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566.
สุชา อยู่อ่อน และอังคณา อ่อนธานี. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอน SQ4R ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(3), 80-69. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/258324
อุทยานการเรียนรู้. (2562, 7 เมษายน). อ่านมากขึ้น อ่านไม่ออก และการรู้หนังสือ. TKPark. https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/408/อ่านมากขึ้น-อ่านไม่ออก-และการรู้หนังสือ
Robinson, F.P. (1961). Effective study. Harper & Row.
Mohamed, S. (2020). The Effect of SQ4R Strategy on Developing EFL Reading Comprehension Skills among Secondary School Students in Quesna Formal Language School. Ministry of Education in Egypt. http://doi.org/10.21608/jfeb.2020.173025