การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง แม่กลองบ้านเรา โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 3) ทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้หลักสูตร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน โดยสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ใช้เวลาในการทดลอง 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรท้องถิ่น 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบสอบถาม 5) สื่อวีดิทัศน์ ใจความสำคัญเพิ่มมากขึ้น 6) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ 7) แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t – test แบบ One Sample t-test และDependent Sample Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้มีการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แม่กลองบ้านเรา โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย 1. จุดมุ่งหมาย 2. โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ 3. เนื้อหา 4. เวลาเรียน 5. กิจกรรมการเรียนการสอน 6. สื่อการเรียนการสอน 7. การวัดและประเมินผล 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับสำคัญหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า 4.1) นักเรียนมีผลการประเมินความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนมีคะแนนพัฒนาการเท่ากับ 77.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 40 4.3) นักเรียนมีผลการประเมินความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยมีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 88.86 4.4) ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จตุพร จันทร์เรือง. (2549). “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง เพลงบอก เพลงพื้นบ้านภาคใต้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จริยา ศรีเพชร. (2550). “การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเรื่อง คลองมหาสวัสดิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลยา เมาะราษี. (2556). “ผลการเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับห้องเรียนกลับด้านบนเครือข่ายสังคมวิชาการวิเคราะห์แก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นิชาภา บุรีกาญจน์. (2557). “ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีผลต่อความรับผิดชอบและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณวิภา รัชตธนกุล. (2557). “การพัฒนาชุดการสอนสื่อประสมเรื่อง ปฏิกิริยาเคมีด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิค KWLH Plus โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิบูลย์ ตัญญบุตร. (2557). “การพัฒนาการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบ SQ4R ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัททิยา สามงามยา. (2545). “การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องแคนวงประยุกต์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งอรุณ หัสชู. (2553). “การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม ท 16201 นิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม. (2551). หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน. กรุงเทพ : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
สุคนธรัตน์ สวัสดิกูล. (2554). “การสร้างชุดการสอนอ่านจับใจความด้วยวิธี SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2559). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2560 จาก http://www.mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped%20classroom2.pdf.
อมรรัตน์ จิตตะกาล. (2556). “การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อรรถวุฒิ ตรากิจธรกุล. (2542). “การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธี SQ4R ประกอบกับ TLS กับวิธีสอนตามคู่มือครู.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Jeremy F. Strayer. (2007). “The Effects of The Classroom Flip on The Learning Environment: A Comparison of Learning Activity in Traditional Classroom and A Flipped Classroom Thai Used an Intelligent Tutoring System.” A thesis submitted to the Degree Doctor of Philosophy in the Graduate School of The Ohio State University.
Robinson F. Pleasant. (1978). Effective Study. New York : Harper & Row.