การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคโนโลยีในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะ (TPACK) เรื่องเลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคโนโลยีในการสอนเนื้อหา วิชาเฉพาะ (TPACK) เรื่องเลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแวงน้อยศึกษา อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 31 คน จำนวน 1 ห้อง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคโนโลยีในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะ (TPACK) เรื่อง เลขยกกำลัง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละความก้าวหน้า และการทดสอบค่าที ผล
การวิจัยพบว่า
1.การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคโนโลยีในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะ (TPACK) เรื่องเลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 78.54/73.55 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 70/70
2.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก(=4.15,S.D.=1.06)
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf.
กุลธิดา พลเยี่ยม มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์ และนิภาพร ชุติมันต์. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการบูรณาการเทคโนโลยีในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะ (TPACK) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องวงกลมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 15(2), 125-147. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/253427
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/28419
พีระพัฒน์ แสงรุ่ง, สุขแก้ว คำสอน และ อุเทน ปุ่มสันเทียะ. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด TPACK เรื่อง กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตวิจัย. 13(2), 71-86. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/258015
ลิลลา อดุลยศาสน์ และอามีเนาะ มะมิง. (2562). การใช้แนวคิด TPACK และ SAMR Model เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อนและจำนวนเชิงซ้อนในรูปเชิงขั้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 4, มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, (24-34).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. มูลนิธิสดศรี.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). สรุปรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-NET. https://www.niets.or.th/th/content/view/11821?fbclid=IwAR2 Wlyt8yJltRw2u6W0AZo718wYZxNmgEJnlrmk1Wg2QLVHQ0_fC6IqOAIo
สุวรรณา แก้วศรีใส และสยาม จวงประโคน. (2564). กระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 40(1),129-140. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/241411
อพันตรี พูลพุทธา. (2561). รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 61-74. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/96080
Chaidam, O. & Poonputta, A. (2022). Learning Achievement Improvement of 1st Grade Students by Using Problem-Based Learning (PBL) on TPACK MODEL. Journal of Education and Learning, (11)2, 43-48. https://ccsenet.org/journal/index.php/jel/article/view/0/46567
Koehler, M.J. & Mishra, P. (2009). What is Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK)?. Contemporary Issues in Technology and Teacher Education. 9(1), https://citejournal.org/volume-9/issue-1-09/general/what-is-technological-pedagogicalcontent-knowledge
National Council of Teachers of Mathematics [NCTM]. (2000). Principles and standards for school mathematics. NCTM.
Shulman, L.S. (1986). Paradigms and research programs for the study of teaching. In M.C. Wittrock.