การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมรายวิชาเคมี เรื่องหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ ด้วยโปรแกรมยูนิตีทรีดีร่วมกับโปรแกรมวูโฟเรีย

Main Article Content

กรรณิกา เงินบุตรโคตร
พีรพงศ์ บุญฤกษ์
นุสรา มูหะหมัด

บทคัดย่อ

 การพัฒนาการเรียนรู้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิต โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์และแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมรายวิชาเคมีเรื่องหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์โดยใช้โปรแกรมยูนิตีทรีดีร่วมกับโปรแกรมวูโฟเรีย2)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ (E1/E2)ของสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมตามเกณฑ์80/80 และ3)เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแอปพลิเคชัน CHEM AR แทนสื่อความเป็นจริงเสริมเรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ แบบวัดผลกระบวนการและแบบทดสอบหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 47 คน เป็นการสุ่มแบบกลุ่ม วิเคราะห์คุณภาพของสื่อประสิทธิภาพของสื่อความเป็นจริงเสริม(E1/E2)กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


ผลการวิจัยพบว่า


1.คุณภาพของสื่อความเป็นจริงเสริมอยู่ในระดับมีความเหมาะสมมากที่สุด(gif.latex?\bar{x}=4.86, S.D.=0.10)


2.ประสิทธิภาพ E1/E2 ของสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์มีค่าเท่ากับ 90.28/81.60 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด


3.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้สื่อความเป็นจริงเสริมในการเรียนรู้เรื่องหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรรณิกา เงินบุตรโคตร, พีรพงศ์ บุญฤกษ์ และนุสรา มูหะหมัด. (2565). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริม เรื่องหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ด้วยโปรแกรม SketchUp และ Pixlive Maker. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(1), 441-453. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/441-453

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/28419

ณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล. (ม.ป.ป.). Education 2030 - อนาคตการศึกษาในอีก 10 ปีข้างหน้า. https://www.disruptignite.com/blog/education2030

ณัฐพงษ์ ประเสริฐสังข์, อลิสา ทรงศรีวิทยา และรัตนา รุ่งศิริสกุล. (2565). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม รายวิชาปฏิบัติการเคมีเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Information and Learning, 32(3), 25-32. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/254483

ธีรชัย ศรีสุวงศ์. (2566). AR Technology เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอัจฉริยะอย่างปลอดภัย. /https://www.depa.or.th/th/article-view/ar-technology

นวิน ครุฑวีร์, พรชนก ชโลปกรณ์, กิตติพงษ์ แก้วประเสริฐ และสิทธิพงศ์ พรอุดทรัพย์. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันโมเดล 3 มิติ เพื่อการเรียนรู้อุปกรณ์พื้นฐานห้องปฏิบัติการเคมีด้วยเทคนิคความจริงเสริม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(2), 78-94. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/253794

นันทิตา ขันทอง, เอกสิทธิ์ เทียมแก้ว และสัญญา เครือหงส์. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีความจริงเสมือนสำหรับการเรียนรู้เรื่องธาตุและสารประกอบเคมี. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 2(2), 77-87. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/article/view/241101

พลยุทธ พุดตาน และจักกริช พฤษการ. (ม.ป.ป.). ตารางธาตุเสมือนจริง. https://eng.kps.ku.ac.th/dblibv2/fileupload/project_IdDoc58_IdPro469.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. ประชุมทางไกลชี้แจงแนวทางปฏิบัติภายใต้สถานการณ์โควิด-19 สำหรับโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา. https://www.obec.go.th/archives/363188