การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชันสำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชันสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/752)เปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชัน3)ศึกษาความเต็มใจในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 23 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่1)ชุดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชัน 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชัน 3) แบบทดสอบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ 4) แบบประเมินความเต็มใจในการเขียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1)ชุดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชันสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีประสิทธิภาพ 75.55/77.72 ผ่านเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
2)ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเขียน ภาษาอังกฤษผ่านแอปพลิเคชันสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3)ระดับความเต็มใจในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กฤษฎา โพธิ์ชัยรัตน์. (2561). รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกโพธิ์ไชยศึกษา. www.ska2.go.th/reis/data/research/25640706_103836_3682.pdf
คณะกรรมการการจัดการความรู้. (2563). คู่มือการจัดการความรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในแนวทางที่หลากหลาย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัยรามคำแหง.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 1-20. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/28419
ธิดารัตน์ สนธิ์ทิม. (2564). การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนอาชีวศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านแอปพลิเคชัน. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ, 35(10), 285-302. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/TVETJournal_IVEN3/article/view/248061
ประกิต ทวนธง และ สุดากาญจน์ ปัทมดิลก. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเรื่องไวยากรณ์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 7(3), 263-276. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/download/255970
ปาริฉัตร พินิจวิญญูภาพ และ กชกร ธิปัตดี. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษด้วยการเขียนแบบเน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด,14 (2), 105-113.
ศิริพร พรหมนา. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ศิวะพร วรรณรัตน์ และอังค์วรา เหลืองนภา. (2562). การใช้แอพพลิเคชั่นในการพัฒนาภาษาอังกฤษด้านการเขียน. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2, (631-642) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สัญชาติ พรมดง, นันทนา นิจจอหา, และนาถรพี ชัยมงคล. (2561). การสร้างประสิทธิภาพของการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์ และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2562). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(2), 136-144. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/210667
Rafiee, M.,& Abbasian-Naghneh, S. (2020). Willingness to Write (WTW): Development of a model in EFL writing classrooms. Cogent Education. 7(1), 1-16. https://doi.org/10.1080/2331186X.2020.1847710
Ying, G. (2022). Research of Enhancing Business English Writing Skills Based on the Blended Learning Model in Vocational College. Asian Social Science, 18(8), 27-34. http://doi.org/10.5539/ass.v18n8p27