การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ สำหรับนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ศิริกานต์ สูงยิ่ง
รัชนีวรรณ ตั้งภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) สำหรับนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) สำหรับนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ประธานหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต จำนวน 8 คน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ จำนวน 16 คน เจ้าหน้าที่บัณฑิตประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 2 คน นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 32 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) สำหรับประธานหลักสูตรและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 2) แบบสอบถามปัญหาและ ความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) สำหรับนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3) เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ สำหรับนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4) แบบประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ใช้การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประธานหลักสูตรและอาจารย์ที่ปรึกษามีข้อมูลที่ต้องการตรงให้แสดงในเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) สอดคล้องกันทั้งหมด จำนวน 5 ข้อมูล (ร้อยละ 100) ส่วนนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การบริหารจัดการเวลา เป็นปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.46, S.D.= 0.07) และมีความต้องการให้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันมาช่วยในการทำวิทยานิพนธ์ด้านการบริหารจัดการเวลา อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.00, S.D.=0.66) 2) ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นต่อประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) ว่ามีความเหมาะสม 16 ด้าน (ร้อยละ 100) 3) ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันเพื่อ การบริหารจัดการตนเองในการทำวิทยานิพนธ์ (CTSM) ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (gif.latex?\bar{x}=4.26, S.D.= 0.44) ส่วนด้านที่ผู้ใช้มีความพึงพอใจเป็นลำดับแรก คือ ความสะดวกรวดเร็วในการทำงานของระบบ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.30, S.D.= 0.56)


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จันทร์จีรา นาคสิงห์. (2565). การประยุกต์ใช้เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการติดตามเอกสารการชำระหนี้ของบริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ ในกรณีศึกษาลูกหนี้โรงพยาบาลภาครัฐในเขตภาคเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5294/1/63061510.pdf

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 1-16. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/28419

ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ และรัชนีวรรณ ตั้งภักดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับ บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 51-60. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/119399

พมลพร ทองโรจน์. (2562). การใช้และความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำ วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา: กรณีศึกษาวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 9(1), 25-38. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/185726

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2563). การบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ให้ประสบผลสำเร็จ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 13(2), 1-14. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/242896

พวงเพชร วอนวัฒนา. (2563). ปัจจัยในการสำเร็จการศึกษาล่าช้า และสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ของนิสิตระดับ บัณฑิตศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(2).50-64. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/243568

ภานรินทร์ อิ่นแก้ว, พุธิตา เจือจันทร์ และวิชุดา ไชยศิวามงคล. (2565). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการค้นคืนสารสนเทศปริญญานิพนธ์ สำหรับปริญญาตรี สาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 50(2), 114-125. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250304

รัชนีวรรณ ตั้งภักดี และทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2560). การศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตและอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับสภาพการทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 138-152. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/147349

วิยุดา เพชรจิรโชติกุล และกรสิริณัฐ โรจนวรรณ์. (2564). การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(2). 282-302. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/248618

ศศิธร บูรณ์เจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะ สาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 4(2), 138-159. https://doi.org/10.14456/jmu.2017.27

อัจศรา ประเสริฐสิน. วรัญญา รุมแสง และปุญญากรณ์ วีระพงษ์นันท์. (2561). แนวคิดและพฤติกรรมบ่งชี้ในเรื่อง การจัดการตนเองอย่างสร้างสรรค์. วารสารสุขศึกษา, 41(2), 18-30