ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
รัชนีวรรณ ตั้งภักดี

Abstract

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 – 2558  จำนวน 117  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธี Enter


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า ในภาพรวมมีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.36, S.D.= .54) โดยที่นิสิตปริญญาเอกมีความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X} = 3.58, S.D.= .31) ส่วนนิสิตปริญญาโทมีความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 3.31, S.D.= .58)

  2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงตามลำดับมากไปน้อย ได้แก่ คุณลักษณะของนิสิต รองลงมาคือ ความรู้และทักษะการทำวิจัยของนิสิต และ อาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัย มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ ในระดับต่ำ (r = 0.297, 0.254 และ 0.243 ตามลำดับ)

  3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า คุณลักษณะของนิสิตส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสามารถสร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานจาก 7 ปัจจัยได้ดังนี้

      gif.latex?\hat{Y} = 1.342 +.-371 X1* + .161 X2 - .274 X3 + .195 X4 - .187 X5 + .198 X6 - .052 X7


     Z  =  .303X1* + .14 X2 - .209 X3 + .207X4 - .238 X5 + .194 X6 - .065 X7


          The objective of this study were to 1) study level of success in conducting graduate students’ thesis 2) find relationship between factors and success in conducting graduate students’ thesis and 3) analyze factors affecting success in conducting graduate students’ thesis. Survey Research was undertaken as research methodology. Sample included 117 Graduate and Doctoral students from Faculty of Education, Mahasarakham University, graduated in the academic year 2014 – 2015. Research instrument was a 5-rating-scale questionnaire, reliability was 0.93. Frequency, Percentage, Average, Standard deviation, Multiple correlation and Multiple regression by ENTER method was used for data analysis.


Result of the study revealed that


  1. In terms of level of success in conducting graduate students’ thesis, overall had level at a moderate level (gif.latex?\bar{X}= 3.36, S.D. = .54).  The doctoral students had level of success in conducting thesis at a high level ( gif.latex?\bar{X}= 3.58, S.D. = .31) and graduate students had level of success at a moderate level (gif.latex?\bar{X}= 3.31, S.D. = .58). 

  2. There are three factors relating to success in conducting graduate students’ thesis which is statistically significant at .01. It can be put in a descending manner as students’ characteristics, students’ knowledge and research skills and thesis advisors. These three factors had low relationship with success in conducting graduate students’ thesis (r = 0.297, 0.254 and 243 accordingly).

  3. In terms of factors affecting success in conducting graduate students’ thesis, students’ characteristics significantly affected success in conducting graduate students’ thesis with statistical significance at level 0.05. Equation for predicting success in conducting graduate students’ thesis, including Raw-score-equation and Standard-score-equation, can be formulated by using 7 factors as follows;

     gif.latex?\hat{Y}  = 1.342 +.-371 X1* + .161 X2 - .274 X3 + .195 X4 - .187 X5 + .198 X6 - .052 X7


    Z  =  .303X1* + .14 X2 - .209 X3 + .207X4 - .238 X5 + .194 X6 - .065 X7

Article Details

Section
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กระทรวงศึกษาธิการ.

ทรงธรรม ธีระกุล. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ธิดาพร ประทุมวี. (2553). ปัจจัยความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นุกูล บำรุงไทย. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและสาเหตุการใช้เวลาเรียนเกินกว่าที่หลักสูตรกำหนดของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา. พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เยาวรักษ์ ทองพุ่ม. (2551). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ของมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมจิตร์ แก้วมณี. (2551). ปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.