การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผสมผสานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ธัญวรัตม์ คงคล้าย
ธนดล ภูสีฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผสมผสานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองหว้านาคำพัฒนา จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือในที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดสมรรถนะ การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศดิจิทัล 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 4) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และt-test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ผสมผสานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.67/79.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) สมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลภาพรวมในระดับเข้าใจในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 75.64 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.20 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผสมผสานในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.69

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ปีการศึกษา (2563). สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กิตติศักดิ์ จันทร์สะอาด, บุญพิชชา จิตต์ภักดี และ ทรียาพรรณ สุภามณี (2563). การพัฒนากรอบสมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่, วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 26(1), 90-99.

จอมภัค จันทะคัต. (2561). ปัจจัยสมรรถนะที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา” วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคม สถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, 8(1) ,162-177.

ดารุณี เพ็งน้อย และ นิวัฒน์ บุญสม. 2564. การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และการสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM Education. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 13(1), 238-257.

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศิระเศรษฐ์ โสภาศรี, ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ และ ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ (2564). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา บ้านแก้งสัมพันธ์ จังหวัดสระแก้ว, Journal of Roi Kaensarn Academi . 6 (11), 242-258.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตร รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา, ม.ป.ท.

สมชัย ปราบรัตน์, นธี เหมมันต์ และประทีป ปราบปราม. (2563).การศึกษาสมรรถนะหลักของพนักงานโรงแรม แห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. (718-726), มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สัญชัย ครบอุดม, บรรพต วงศ์ทองเจริญ, สุวัฒน์ พัดไธสง และปรีญานุช ขาวสระ. (2564) การพัฒนาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 1(2), 51-59. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ BRUJE/issue/view/17318

สำนักงาน ก.พ. (2563). คู่มือสมรรถนะราชการพลเมืองไทย. พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3). 21 เซ็นจูรี่

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะระดับประถมศึกษาตอนต้นสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 21 เซ็นจูรี่.

สีปาน ทรัพย์ทอง. (2563). ความสามารถและสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพสารสนเทศในบริบทสภาพแวดล้อม ดิจิทัล. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 13(1), 80-87.