การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุชาวลี วงศ์ศรีทา
สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง 2) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง 2) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และ 3) แบบประเมินความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


1) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 สูงกว่าเกณฑ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) ความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับสูง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2558. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2563). ปัญหาการสอนทักษะการพูดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 63-76. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/246327

พงษ์ดนัย นามปักใต้ และวัฒนา สุขศิริประกรชัย. (2561). การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของ นักเรียนไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาโดยการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล. International (Humanities, Social Sciences and Arts), 11(4), 1192-1206. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/167477

พัชรา วาณิชวศิน. (2562). เทคนิคการเล่าเรื่อง : เครื่องมือสอนที่มีศักยภาพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 281-291. https://ph01.tcithaijo.org/index.php/JIE/article/view/180159

ยะยา ยุทธิปูน. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบของความเชื่อมั่นในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), 62-75. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jrcd/article/view/142284

สิริวรรณ โพธิ์ทอง และวนิดา อัญชลีวิทยกุล. (2561). การใช้การสอนแบบการเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะการพูด ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2), 145–154. http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/91

สุธาสินี ทีฆะบุตร. (2561). ผลการใช้กิจกรรมนิทานภาษาอังกฤษที่มีต่อความสามารถในการพูดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนาคประสิทธิ์ จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal Silpakorn University,11(2), 968–981. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/141484

Bressmer, A. (2022, 4 December). Freytag’s Pyramid: Definition, Examples, and Usage. https://prowritingaid.com/freytags-pyramid

Cole, D. (2007). Teaching English as a second or foreign language. Heinle & Heinle.

Dogan, F. & Cifci, S. (2021). The effect of storytelling skill acquisition on the impromptu speaking attitudes and anxiety levels of 6th grade students. International Journal of Education & Literacy Studies, 9(3), 189-199. https://doi.org/10.7575/aiac.ijels.v.9n.3p.89

Eck, J. (2006). An analysis of the effectiveness of storytelling with adult learners in supervisory management. [Master’s thesis. University of Wisconsin-Stout]. https://minds.wisconsin.edu/bitstream/handle/1793/41941/2006eckj.pdf?sequence=1

English Proficiency Index. (2022, 29 November). English Proficiency Index. http://www.ef.co.th/epi

Gill, C. (2016). Maximising Asian ESL Learners’ Communicative Oral English Drama. Advance in language and literacy studies, 7(5), 240–247. http://journals.aiac.org.au/index.php/alls/article/view/2741

Hardcastle, A. (2021, 3 December). Building Student Confidence in Oral Communication: The Importance of Low-stakes Presentations. https://www.facultyfocus.com/articles/effective-teaching-strategies/building-student-confidence-in-oral-communication-the-importance-of-low-stakes-presentations/

Hidayati, Y. (2019). The Effect of Storytelling Towards Students’ Speaking Skill at X Grade Students of Ma Nurul Haramain Boarding School. JOLLT Journal of Languages and Language Teaching, 7(2), 132 - 143. https://e-journal.undikma.ac.id/index.php/jollt/article/view/1961

Ikrammuddin, R. (2017). Using storytelling technique to improve speaking ability. [Master’s thesis. University of AR-RANIRYSTATEISLAMIC]. https://repository.ar-raniry.ac.id/id/eprint/3241/1/Thesis.pdf

Kalantari, F. & Hashemian M. (2016). A Story-Telling Approach to Teaching English to Young EFL Iranian Learners. English Language Teaching, 9(1), 221-234. http://doi.org/10.5539/elt.v9n1p221

Safira, M., Mahmud, M. & Nasir, C. (2020). The Implementation of Storytelling Technique Used by the English Teacher in Teaching Speaking. Research in English and Education, 5(1), 7-18. https://jim.usk.ac.id/READ/article/view/14909

Thornbury, S. (2011). How to teach speaking. Pearson Education Limited.

Ur, P. (1998). A course in Language teaching. Cambridge University Press.

Wright, A. (1999). Storytelling with children. Oxford University Press. .

Wright, A. (2013). Storytelling with children (2nd ed.). Oxford University Press.