ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนหมวกคิดหกใบร่วมกับบทเรียนบนเว็บที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วัฒนา พรหมวงศา
เมษา นวลศรี
สุวรรณา จุ้ยทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนหมวกคิดหกใบร่วมกับ บทเรียนบนเว็บ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนหมวกคิดหกใบกับบทเรียนบนเว็บ จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ รวม 15 ชั่วโมง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x&space;}=4.90, S.D.=0.18) 2) บทเรียนบนเว็บบนแพลตฟอร์ม Vclass จำนวน 5 บทเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x&space;}=4.27, S.D.=0.52) 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์แบบอัตนัย จำนวน 6 กิจกรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test for dependent samples และ t-test for one sample ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กฤษฎา ทองเชื้อ. (2560). การพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การทำงานแบบมีเงื่อนไขและวนซ้ำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 16(2), 25-32. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/120337

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal Blended Learning ina New Normal. วารสารครุศาสตร์สาร, 15(1), 29-43. https://edujournal.bsru.ac.th/publishes/18/articles/318

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 188-204. http://sk.nfe.go.th/sknfe/UserFiles/File/tingk.pdf?fbclid=IwAR3wXpjrJXeGbNfz4x__fi0ShFOCdIJI9XV84wLhJNDcSyzKrbBj7Xt6c88

นาถนรินทร์ บุญธิมา. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=92&RecId=51938&obj_id=617169&showmenu=no

พราวเพ็ญธรรม เรืองศรี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านผ่านสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการนำตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(3), 2221-2233, https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/110274

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). เฮาส์ออฟเคอร์มิสท์.

ภาณุพงศ์ ไชยสุข และคณะ. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง สูตรและฟังก์ชั่นในโปรแกรมสําเร็จรูป. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 287-292, https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/249765

มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ.

ยุทธนา ทรัพย์เจริญ. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาดนตรีสากล เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรี และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]., https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=107&RecId=4428&obj_id=37643&showmenu=no

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564– 2569). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ส่วนนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิดด้วยการใช้คำถาม : หมวกความคิด 6 ใบ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2562-2564. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2564 การศึกษาตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อภิญญา ไทยลาว. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพผ่านเว็บไซต์ที่มีต่อความสามารถ ในการคิดเชิงคำนวณและชิ้นงานสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่มีตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

De Bono, E. (1992). Six Thinking Hats for School. Haeler Brownlow Education. IMD World Competitiveness Yearbook. (2020). Extract IMD World Competitiveness Yearbook. https://worldcompetitiveness.imd.org/EShop/Home/DownloadPdf?fileName=IMD_WCY_2020_Abstract.pdf

INSEAD. (2020). The Global Talent Competitiveness Index 2020: Global Talent in the Age of Artificial Intelligence. Fontainebleau.

Klopfer, Leopard E. (1971). Evaluation of learning in science. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. McGraw Hill Book Co.

SAP Litmos. (2023). E-Learning Platform Definition. Litmos. https://www.litmos.com/platform/e-learning-platform-definition

Sinrarat, P. (2014). Learning to the Future: 21st Century Challenge. http://www.air.or.th/AIR/doc/Lectures27062557_07.pdf

Torrance, E.P. (1992). A National Climate for Creativity and Invention. Gifted Child Today, 5(1), 10-14.