ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สารอาหารและสารเคมีในสิ่งมีชีวิต

Main Article Content

กานต์ชนก จันทฤทธิ์
กันยารัตน์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และ 2) ศึกษาทักษะการสร้างแบบจำลองของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) แบบ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพของแบบจำลอง 4) แบบประเมินกระบวนการสร้างแบบจำลองด้านการสร้างและใช้แบบจำลอง 5) แบบประเมินกระบวนการสร้าง แบบจำลองด้านการปรับปรุงและเปลี่ยนแบบจำลอง และ 6) แบบสัมภาษณ์ ชนิดกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที


ผลวิจัยปรากฏ ดังนี้


1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 


2) คะแนนเฉลี่ยของการประเมินคุณภาพของแบบจำลองของนักเรียนเท่ากับ 4.47 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี คะแนนเฉลี่ยของการประเมินทักษะกระบวนการสร้างแบบจำลอง ด้านการสร้างและการใช้ของนักเรียนเท่ากับ 2.84 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี และด้านการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแบบจำลอง เท่ากับ 2.99 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กนกภรณ์ ทรวดทรง และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริม ทักษะการสร้างแบบจำลองและมโนทัศน์ เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(4), https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/download/241420/169843/899616

โกเมศ นาแจ้ง และวัชราภรณ์ แก้วดี. (2554). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ MCIS ที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และมโนทัศน์เรื่องกฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://doi.org/10.14457/CU.THE.2011.548

ขนิษฐา สุวรรณประชา, จารุณี มณีกุล, และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2557). การใช้กลุ่มสืบค้นที่เน้นเนื้อหาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. พิฆเนศวร์สาร, 10(1), https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/97372

จิราภรณ์ กุลพิมล และวาสนา กีรติจำเริญ. (2563). การเปรียบเทียบมโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 35(2), 50–65. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/222174

ชนาธิป โหตรภวานนท์, สุรีย์พร สว่างเมฆ, และวันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (2562). การพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 21(2), https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/89711

ชยพัทธ์ ศรีกรด, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์, กิตติมา พันธ์พฤกษา, และทนงศักดิ์ ประสบกิตติคุณ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบประสาทและ อวัยวะรับความรู้สึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 18(2), https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ edujournal_nu/article/view/61075

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 6). พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง. ผาณิตดา วงศ์ขจร, สุชาติ ลี้ตระกูล, และกิตติศักดิ์ นิวรัตน์. (2561). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยา เขต 2. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 2, https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/article/view/252114

วีรพงษ์ ศรัทธาผล. (2561). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. School of Agro-Industry.

http://agro-industry.mfu.ac.th/events/744

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำแนกรายสาระและสังกัด. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

สุรัสวดี ปะกิระเค. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2561/127034/

หนึ่งฤทัย มะลาไวย์, อรพินทร์ ชูชม, และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2565). การทำงานเป็นทีมของนักเรียน : ปัจจัยเชิงสาเหตุข้อเสนอแนะในการวิจัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/252945

Baek, H., Schwarz, C., Chen, J., Hokayem, H., & Zhan, L. (2011). Engaging Elementary Students in Scientific Modeling: The MoDeLS Fifth-Grade Approach and Findings. In I. M. Khine Myint Swe and Saleh (Ed.), Models and Modeling: Cognitive Tools for Scientific Enquiry (pp. 195–218). Springer Netherlands. https://doi.org/10.1007/978-94-007-0449-7_9

Clement, J. (2010). Model based learning as a key research area for science education. International Journal of Science Education, 22(9), https://doi.org/https://doi.org/10.1080/095006900416901

Harrison, A. G., & Treagust, D. F. (2000). Learning about atoms, molecules, and chemical bonds: A case study of multiple-model use in grade 11 chemistry. Science Education, 84(3), 352–381. https://doi.org/10.1002/(SICI)1098-237X(200005)84:3<352::AID-SCE3>3.0.CO;2-J

Hodgson, T. (1995). Secondary mathematics modeling: Issues and challenges. School Science and Mathematics, 95(7), 351–358, https://doi.org/10.1111/j.1949-8594.1995.tb15799.x

Khan, S. (2007). Model-based inquiries in chemistry. Science Education, 91(6), https://doi.org/10.1002/SCE.20226 Nicolaou, C. T., & Constantinou, C. P. (2014). Assessment of the modeling competence: A systematic review and synthesis of empirical research. Educational Research Review, 13, https://doi.org/10.1016/J.EDUREV.2014.10.001

Schwarz, C. v., Reiser, B. J., Davis, E. A., Kenyon, L., Achér, A., Fortus, D., Shwartz, Y., Hug, B., & Krajcik, J. (2009). Developing a learning progression for scientific modeling: Making scientific modeling accessible and meaningful for learners. Journal of Research in Science Teaching, 46(6),https://doi.org/10.1002/TEA.20311

Suyanti, R. D., & Purba, D. M. (2017). The implementation of discovery learning model based on lesson study to increase student’s achievement in colloid. AIP Conference Proceedings, 1823(1), https://doi.org/10.1063/1.4978163

Windschitl, M., & Thompson, J. (2006). Transcending simple forms of school science investigation: The impact of preservice instruction on teachers’ understandings of model-based inquiry. American Educational Research Journal, 43(4), https://doi.org/10.3102/00028312043004783