การทำงานเป็นทีมของนักเรียน : ปัจจัยเชิงสาเหตุ ข้อเสนอแนะในการวิจัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักเรียน เพราะการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการทำงานเป็นทีมจะส่งผลให้เกิดการสร้างความรู้ความเข้าใจ สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลในสังคมและเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในสังคมได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหมายความสำคัญ องค์ประกอบ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม และข้อเสนอแนะในการทำวิจัย โดยนำเสนอในมุมมองเชิงพฤติกรรมศาสตร์ กล่าวคือ การทำงานเป็นทีม นั้นเป็นพฤติกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีมนุษย์ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งในตัวบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม อาทิ ปัจจัยลักษณะสถานการณ์ ปัจจัยจิตลักษณะเดิม ปัจจัยจิตลักษณะตามสถานการณ์ ซึ่งพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมนั้นเป็นทักษะที่สำคัญยิ่ง เพราะการที่นักเรียนที่มีความรู้ความสามารถและศักยภาพที่แตกต่างกัน สามารถทำงานเป็นทีมได้จนประสบผลสำเร็จ และตอบสนองความต้องการของจิตใจ เกิดการพัฒนาตนเองจากการได้เรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งในอนาคตจะทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระเดช ริ้วมงคล. (2555). การทำงานเป็นทีม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2550). รูปแบบทฤษฎีปฎิสัมพันธ์นิยม (Interactionism model) และแนวทางการตั้งสมมติฐานในการวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม. 9 (1), 85 - 117
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิชาภัทร โพธิ์บาง. (2550). ลักษณะจิตใจและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานราชการอย่างมีจริยธรรมของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี. ปริญญานิพนธ์วิทยาศษสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปวีณา คําพุกกะ. (2553). โมเดลเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมของชมรมนิสิตนักศึกษาที่มีความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มเป็นตัวแปรส่งผ่าน: การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปลื้มจิตร บุญพึ่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของพนักงานสายปฏิบัติการ วิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 35 (6), 135-147.
ปัญญาพล ภัทรนาวิก. (2546). การพัฒนาแบบทดสอบวัดคุณลักษณะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วันทนา วัฒนธรรม. (2557). ปัจจัยทางจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของพนักงานเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป. ปริญญานิพนธ์วิทยาศษสตร์มหาบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2544). การสร้างทีมงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ดี. ดี. บุ๊คสโตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560 – 2574. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
Hsu, M.-H., Chen, I. Y.-L., Chiu, C.-M., & Ju, T. L. (2007). Exploring the antecedents of team performance in collaborative learning of computer software. Computers & Education, 48 (4), 700-718.
Luca, J., and Tarricone, P. (2001). Does Emotional Intelligence Affect Successful Teamwork?. Meeting at the Crossroads. Australia: ASCILITE.
Tasa, K., Taggar, S., & Seijts, G. H. (2007). The development of collective efficacy in teams: a multilevel and longitudinal perspective. Journal of applied psychology, 92 (1), 7-27.
Ted, B, Jamie, E and Brett, W. (2017). Emotional intelligence and personality traits as predictors of undergraduate occupational therapy students’ teamwork skills: A cross-sectional studyBritish. Journal of Occupational Therapy, (7). 432–439.