การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับสื่อประสม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเป็นผู้นำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเป็นผู้นำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่างร่วมกับสื่อประสม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอนุบาลองครักษ์(ผดุงองครักษ์ประชา) จังหวัดนครนายก โดยการจับสลากมา 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง จำนวน 6 แผน 2) สื่อประสม 3) แบบวัดความสามารถในการเป็นผู้นำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเกณฑ์การประเมิน และ 4) แบบประเมินความสามารถในการเป็นผู้นำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หาคุณภาพเครื่องมือด้วยวิธีการหาความเที่ยงตรงโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถ ในการเป็นผู้นำของนักเรียน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และ 4) ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเป็นผู้นำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเสนอ 2) ขั้นศึกษา 3) ขั้นวิเคราะห์ 4) ขั้นอภิปราย และ 5) ขั้นประเมินผล ร่วมกับสื่อประสม 4 ประเภท ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง จากการวัดซ้ำ 5 ครั้ง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกครั้งโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
การดี เลียวไพโรจน์, ศากุน บุญอิต และศจี ศิริไกร. (2553). Case Method 101 ด่านสุทธาการพิมพ์
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). ทำงานอย่างไรให้ก้าวหน้า (พิมพ์ครั้งที่ 3). ซัคเซสมีเดียการพิมพ์.
ชัยศาสตร์ คเชนทร์สุวรรณ, (2563). การพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2554). ภาวะผู้นำองค์กรยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ทการพิมพ์.
นงราม ชะลอเจริญยิ่ง. (2559). ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 10(1), 137-157.
มนัสวี แขดวง. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาุมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
รุ่งโรจน์ พงศ์กิจวิทูร. (2557). การผลิตและนำเสนอมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. สมบูรณ์การพิมพ์.
วันวิษา เสนาแสง. (2561). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. https://dric.nrct.go.th
สตาร์ฟิช อคาเดมี. (2562). Leadership ทักษะแห่งอนาคตที่ควรมีในศตวรรษที่ 21. https://www.starfishlabz.com/blog/12-leadership
Nugroho, A., and Bramasta, D. (2018). The Implementation of Case Study Method to Develop Students’ Activities and Characters. JSSH (Jurnal Sains Sosial dan Humaniora) 2, DOI:10.30595/jssh.v2i2.3349
World Economic Forum. (2016, 10 March). New Vision for Education: Fostering Social and Emotional Learning through Technology. World Economic Forum. https://www.weforum.org/reports/new-vision-for-education-fostering-social-and-emotional-learning-through-technology/