การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ Murdoch Integrated Approach (MIA) ร่วมกับเทคนิค Think Pair Share สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

วรวุฒิ สดใส
ไพทยา มีสัตย์
อัญชลี ทองเอม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ Murdoch Integrated Approach (MIA) ร่วมกับเทคนิค Think Pair Share ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารฯ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียน วังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) และวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้ Murdoch Integrated Approach (MIA) ร่วมกับเทคนิค Think Pair Share 2) แบบทดสอบการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจการจัดการเรียนการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติตรวจสอบสมมุติฐาน คือ t-test for one sample และ t-test for dependent samples


ผลการวิจัยพบว่า


1) นักเรียนมีความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ Murdoch Integrated Approach (MIA) ร่วมกับเทคนิค Think Pair Share กับเกณฑ์คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (sig.= .000, t= 5.411*) 2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (sig.= .000, t=9.854*) และ


3) มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ Murdoch Integrated Approach (MIA) ร่วมกับเทคนิค Think Pair Share โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 2.73, S.D. = 0.52)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ธัญญา แนวดง. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค Think Pair Share ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20 (1), 29-41.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.

ประยงค์ กลั่นฤทธิ์. (2556). การสอนภาษาอังกฤษ. สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

ปิยะนุช เจียมจันทร์ และธานิล ม่วงพูล. (2560). การพัฒนากระบวนเรียนการสอนแบบเพื่อนคู่คิด โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำราชาศัพท์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

พนัสวี หวนจิต และอนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ. (2562). การพัฒนาทักษะการเขียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ศึกษา ครั้งที่ 2. (176-186) มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม (ส่วนวังจันทร์). https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/4092019-10-11.pdf

เพ็ญนภา มาตวังแสง. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วารสารช่อพะยอม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 31(1). 90-102

วัฒนากาญจน์ แก้วมณี. (2561). การพัฒนาความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์] http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Wattanakarn.Kae. pdf

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563, 12 ตุลาคม). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/ PDF/SummaryONETP6 _2562.pdf

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. ด่านสุทธาการพิมพ์.

อภิชญา สีบัวอ่อน. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเขียนแบบเน้นกระบวนการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4. (90-98) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

Almubark, A. A. (2016). Exploring the Problems Faced by the Teachers in Developing English Writing Skills for the Students in Saudi arabia. International Journal of English Language Teaching, European Centre for Research Training and Development UK, 4(10), 10–23.

Anderson, L.W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Wittrock, M. C. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. Longman Publishing.

August, D., & Shanahan, T. (2008). Developing Reading and Writing in Second Language Learners. Routledge.

Brooks, B. J., & Koretsky, M. D. (2011). The Influence of Group Discussion on Students’ Responses and Confidence during Peer Instruction. Journal of Chemistry Education, 88 (11), 1477–1484.

Brown, H. D. (2007). Principles of Language Learning and Teaching. Pearson Longman.

Crystal, D. (2003). English as a Global Language (2nd ed.). Cambridge University Press.

Gall, M. D., Borg, W. R., and Gall, J. P. (1996). Educational Research: An Introduction. Longman Publishers USA.

Hacker, D. (2008). A Canadian Writer’s Reference. (4th ed.). Bedford/St. Martin’s.

Harris, D P. (1969). Testing English as a Second Language. Mc.Graw-Hill Book Company.

Harris. Albert. J. & Sipay. Edward R. (1979). How to Teach Reading. Longman Inc.

Heaton, J. B. (1988). Writing English Language Tests: Longman Handbook for Language Teachers (New Edition). Longman Group UK Ltd.

Hedge, T. (2005). Writing. (2nd ed.). Oxford University Press.

Hinkel, E. (2010). Integrating the four Skills: Current and Historical Perspectives. In Kaplan, R.D. (Ed.), Oxford handbook in applied linguistics (pp. 110-126). Oxford University Press.

Kurniasih, E. (2011). Teaching the four Language Skills in Primary EFL Classroom: Some Considerations. Journal of English Teaching, 1(1), 70-81.

Larsen-Freeman, D. (2015). Research into Practice: Grammar Learning and Teaching. Language Teaching, 48(2), 263-280.

Lyman, F. (1981). The responsive classroom discussion. [Unpublished master’s thesis]. University of Maryland.

Miller, W. R., & Rollnick, S. (2012). Motivational Interviewing (3rd ed.). Guilford Press.

Murdoch, G. S. (1986). A more integrated approach to the teaching of reading. english teaching. Forum, 34 (1), 9-15.

Pardede, P. (2020). Integrating the 4Cs into EFL integrated skills learning. Journal of English Teaching, 6(1), 71-85.

Raimes, A. (1983). Techniques in Teaching Writing. Oxford University Press.

Richards, J. C., & Eckstut, D. S. (2003). Strategic Reading: Building Effective Reading Skills. Cambridge University Press.

Tarigan, H. G. 2008. Membaca:Sebagai Suatu Keterampilan Berbahasa.Edisi Revisi.Bandung: Angkasa.