การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านแบบออนไลน์ เรื่อง ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ธิติมา อ่อนเยียะ
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านแบบออนไลน์ เรื่อง ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เพื่อศึกษาความสามารถ ในการปฏิบัติผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อวีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิชากร จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยวิธีการจับสลาก จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชานาฏศิลป์ 2) วีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อ
4) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติ
6) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-Test


ผลการวิจัยพบว่า


1) วีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านแบบออนไลน์ เรื่องภาษาท่าและนาฏยศัพท์ มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.67/82.50 เป็นไปตามเกณฑ์ ที่กำหนด


2) ผลคะแนนสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01


3) ผู้เรียนมีผลประเมินความสามารถในการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก


4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อวีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศไทย ICT2020. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 1-6.

จิตราภรณ์ ชั่งกริส. (2559). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped Classroom เรื่อง การตรวจร่างกายรายวิชาการประเมินภาวะสุขภาพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2989

ฐานิตา ลิ่มวงศ์ และ ยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์ (2562). ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21.Mahidol R2R e-Journal, 6(2), DOI: https://doi.org/10.14456/jmu.2019.10

นรินธน์ นนทมาลย์. (2561). วิดีโอปฏิสัมพันธ์ในการเรียนแบบเปิดในศตวรรษที่ 21.วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/163454

พรปภัสสร ปริญชาญกล กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และโสพล มีเจริญ (2560).การพัฒนาสื่อวิดีโออินโฟกราฟิแบบมีปฏิสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคม เรื่อง กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทบันเทิง บริษัท โมโนบรอดคาซท์จำกัด. นิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 11-20. http://commartsreview.siam.edu/2017/images/review/year16-vol21/year16-vol21-02.pdf

พงศณัฐวัฒน์ เจริญสิงห์, และแสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2564).การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำพื้นฐานนาฏศิลป์ไทยด้านนาฏยศัพท์และภาษาท่า โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบทางตรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 6(3), https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/248224/168818

เฟื่องฟ้า จารย์ลี . (2562). การพัฒนาวีดิทัศน์เชิงปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การเคลื่อนไหวพื้นฐานเพื่อสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

ยง ภู่วรวรรณ และ ยืน ภู่วรวรรณ. (2564,18 เมษายน). ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล. https://www.springnews.co.th /spring-life/808017

อดิศร พึ่งศรี. 2561. พัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ออนไลน์ วิชาถ่ายภาพ เรื่อง Advance Flash Photography. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_08_26_12_40_06.pdf

McGriff, S. J. (2000). Instructional Systems. College of Education, Penn State University.