การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกตามแนวคิดไมโครเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างสื่อโมชันกราฟิกตามแนวคิดไมโครเลิร์นนิงร่วมกับการเรียน การสอนแบบออนไลน์ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนวันครู 2502 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผน การจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณ 2) สื่อโมชันกราฟิก 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อ 4) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) สื่อโมชันกราฟิกมีคุณภาพด้านเทคนิคอยู่ในระดับดี และคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก
2) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิกในระดับ มากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด.
ขวัญชนก พุทธจันทร์. (2563, 26 พฤศจิกายน). การเรียนรู้แบบ Micro–Learning. https://www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/covid-19/1041-micro learning
จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี และภมรศรี แดงชัย. (2563). คู่มือการจัดการโรงเรียนรับมือโควิด-19. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ณัฐภณ สุเมธอธิคม, อาณัติ ภู่สกุล, ณัชพล บุญภิมุข, และพีรณัฐ ควรผดุงศักดิ. (2563). การผลิตสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 3(2), 129–141.
ศยามน อินสะอาด. (2564). การออกแบบไมโครเลิร์นนิงยุคดิจิทัล. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(20), 16-31
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 พริกหวานกราฟฟิค.
Hapsari, A. S., Hanif, M., Gunarhadi, & Roemintoyo. (2019). Motion graphic animation videos to improve the learning outcomes of elementary school students. European Journal of Educational Research, 8(4), 1245-1255, http://doi.org/10.12973/eu-jer.8.4.1245