การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ศักดินันท์ โต๊ะจิ
อนงนาฏ เพชรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานและ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 4 แผน มีค่าคุณภาพและความเหมาะสมเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 อยู่ในระดับมีคุณภาพและเหมาะสมมาก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นโดยใชสูตรของโลเวทท (Lovett) เท่ากับ .95 3) แบบสอบถามความคิดเห็น ต่อการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ที่ .92 การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติ t-test แบบ Dependent Samples ในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า


1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานมีคะแนนการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐานอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐานพุธศักราช 2551. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. โอเดียนสโตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัญญา กุลจลา และ นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2561). การใช้การเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูนทักษะการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) 11(3) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/157055

ธัญญรัตน์ ปาณะกุล. และส่องศรี โตประเสริฐ. (2558). การอ่านเอาความ (พิมพ์ครั้งที่7). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม ไอ ที พริ้นติ้ง.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2537). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุธินี แจ่มอุทัย. (2559). PBL การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริงโดยใช้โครงงานเป็นฐาน. วารสารการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. apr.nsru.ac.th/KM/myfile/20160826162610_วารสาร%20km.pdf

Barr, P. S. & Chinwonno, A. (2015). The Effects of Project- Based Reading Instruction on English Reading Ability and Intercultural Communitive competence of Undergraduate Students. Journal of Education Naresuan University 18(3) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/66586/54465

Davies, N. F. (1976). Receptive Versus Productive Skills in Foreign Language Learning.The Mordern Language Journal. 60(8) https://doi.org/10.1111/j.1540-4781.1976.tb03667.x

Hambali, U., Rahman, M. A., & Atmowardoyo, H. (2019). The Effectiveness of Project Based Learning to the Teachiing of Reading Comprehension: Journal of Advanced English Studies.

Krajcik, J.S. & Blumenfeld, P.C. (1994). The Cambridge Handbook of Learning Science: Project-based Learning. Cambridge: Cambridge University Press.

Walqui, A., & Lier, L v. (2010). Scaffolding the Academic Success of Adolescent English Language Learners: A Pedagogy of Promise. WestEd.