การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง รายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พรรณทิพา จันทร์เพ็ง
พิมพ์ชนก โพธิปัสสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง รายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารใน ชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนจากบทเรียนอีเลิร์นนิง รายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนจากบทเรียนอีเลิร์นนิง รายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ ที่กำลังศึกษา อยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน โดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนอีเลิร์นนิง 2) คู่มือการใช้บทเรียน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้ 1.ขั้นบอกวัตถุประสงค์ (Setting Objectives) 2.ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Presentation) 3.ขั้นการฝึก (Practice) 4.ขั้นการนำไปใช้ (Transfer) และ 5.ขั้นวัดและประเมินผล (Test)


ผลการวิจัยพบว่า


1) บทเรียนอีเลิร์นนิง รายวิชา ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.17/93.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์


2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนผ่านบทเรียนอีเลิร์นนิง รายวิชา ภาษาจีน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\check{x}=4.75, S.D.=0.43)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง, และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2560). “การใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและความรู้ด้านไวยากรณ์ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), https://www.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/download/108396/85749/

กมกาญจน์ แสงหล่อ (2560). การพัฒนาบทเรียนอีเลิรนนิงวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามสภาพแวดล้อมการเรียนส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี .วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9843

คณารักษ์ ศรีสมบูรณ์. (2563).การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต.วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2), http://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/11.2jssr8.pdf

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2560). การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบ เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน (ม.ป.ป.). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยานฃใณัฏฐ์คนันท์ พัดศรี. (2560). การพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้บนเว็บ เรื่อง การสนทนาภาษาจีนในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี]. http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789 /908

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน (ม.ป.ป.) ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง.. (2551). Desiging e-learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน (ม.ป.ป.). ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประไพร จันทะบัณฑิต. (2560) การพัฒนาบทเรียน E-Learning รายวิชาภาษาจีนเบื้องต้น 1 สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.ใน นิรุตติ์ เจริญกิจ (บ.ก.), สร้างองค์ความรู้ สู่ท่องเที่ยวไทยเศรษฐกิจก้าวไกล สังคมไทยยั่งยืน” การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5.(701-711) มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ประภาพร แสนงาม. (2561). ผลการสอนภาษาจีนโดยใช้วีดิทัศน์ประกอบ ที่มีต่อความสามารถในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์]. http://ns.nsru.ac.th/handle/nsru/318

พชร อุตมะพันธุ์. (2562). การพัฒนาบทเรียน E-Learning รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทยโดยใช้โมเดลการเรียนรู้ T5. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 1(2), https://so02.tci-thaijo.org/index.php /jemri/article/ view/251570

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). เจริญผล.

ไพโรจน์ ภู่ทอง, และ ณิชดนีย์ ธัญพรหิรัณย์. (2564).การพัฒนาบทเรียน e-learning ร่วมกับกิจกรรมเครื่องมือในกลุ่ม Education Applications เรื่องโปรแกรม Excel สำหรับ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันการศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(1), https://journal.pbru.ac.th/admin/upload/article/5774-2021-06-08.pdf

พัชรณัฐ ดาวดึงส์, วัชรี เลขะวิพัฒน์, และชวลิต จันสะ. (2561). การพัฒนาเว็บมัลติมีเดียสำหรับการฝึกสนทนาภาษาจีนระดับเบื้องต้น.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(2), https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sciubu/article /view/182590

รฐา แก่นสูงเนิน, และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2559) “การพัฒนาการเรียนการสอนอีเลิรนนิงวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวตามแนวการสอนอ่าน แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ จังหวัดสมุทรสาคร” . วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal /article/view/61522/50692

ล้วน สายยศ. และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4).สุวีริยาสาส์น.

วรรณพร จิตรสังวรณ์. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องหลักสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(2), https://so02.tci-thaijo.org/index .php/journaldru/article/view/253374

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). หนังสือชุด รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับประถมศึกษา.บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on formative and Summative Evaluation of Student Learning./McGraw-Hill.

Canale, M., & Swain, M. (1980). Theoretical Bases of Communicative Approaches to SecondLanguage Teaching and Testing. Applied Linguistics, 1, 1-47, ResearchGate. DOI:10.22219/jpbi.v5i2.8455, https://www.researchgate.net /publication/31260438

Lovett, H.T. (1978). The Effect of Violating the Assumption of Edual Item Means in Estimating the Livingston Coefficient. Educational and Psychological Measurement, 38(2), 239-251, https://doi.org/10.1177/00131644780380 0205

Savignon, S. J. (1983). Communicative Competence : Theory and Classroom Practice Reading. Reading, Mass.: Addison-Wesley, 40(3), 464–465, UTPjournals. DOI:10.3138/cmlr.40.3.464, https://www.utpjournals.press/doi/abs /10.3138 cmlr.40.3.464

Widdowson, H. G. (1978). Teaching Language as Communication./Oxford University.