การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึก เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุก​วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Main Article Content

ศศิพิมพ์ ชราลักษณ์
อลิษา มีเชาว์
พินันทา ฉัตรวัฒนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบโมบายcอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึก เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2) พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึกเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ 3) ศึกษาผลการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึกเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันที่มาจาก หลากหลายสถาบัน จำนวน 10 ท่าน และ 2) บุคลากรและนักศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โมบายแอปพลิเคชันด้วย หลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึกที่พัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินประสิทธิภาพโมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึกที่พัฒนาขึ้น และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันด้วย หลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึกที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัย พบว่า 1) โมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึกที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 2 ระบบ (1.1) ระบบผู้ดูแลระบบ และ (1.2) ระบบผู้ใช้งาน และ 2) ผลการใช้โมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ ผู้ใช้งานเชิงลึกที่พัฒนาขึ้น พบว่า (2.1) ผลการประเมินประสิทธิภาพโมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ ผู้ใช้งานเชิงลึกที่พัฒนาขึ้นในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.32, S.D.=0.54) และ (2.2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึกที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน (ด้านการออกแบบ ด้านประสิทธิภาพ ด้านการนำไปใช้งาน และด้านคู่มือการใช้งาน) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.62, S.D.=0.42) ตามลำดับ จากผลการวิจัยข้างต้น สรุปได้ว่า โมบายแอปพลิเคชันด้วยหลักการประสบการณ์ผู้ใช้งานเชิงลึกที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านอุปกรณ์สื่อสารให้กับวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากมีกระบวนการออกแบบและพัฒนาอย่างเป็นระบบก่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารส่งผลให้การประชาสัมพันธ์เกิดความสะดวก รวดเร็ว ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลข่าวสารที่ตรงกันได้ทุกที่ทุกเวลาและในทิศทางเดียวกัน ช่วยในด้านการเพิ่มความพึงพอใจต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเชิงรุกได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จารุวรรณ กาฬภักดี พินันทา ฉัตรวัฒนา และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2562). การพัฒนาระบบนำทางอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนแบบโลเคชันเบสผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบพกพา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(3). http://journal.fte.kmutnb.ac.th/download/v10n3/journalFTE-Fulltext-2019-10-3-12.pdf

ชนันนา รอดสุทธิ. (2561). เทคนิคการมีส่วนร่วมเพื่อสร้าง “ประสบการณ์ผู้ใช้” ในงานบริการห้องสมุดยุค 4.0. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 11(1), 209-219.

ชิตชนก ทิพย์โสดาและฐาปนี สีเฉลียว. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(11). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/247953

ณพงศ์ วรรณพิรุณและปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของสถานศึกษาผ่านโมบายแอปพลิเคชัน. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 6 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28-29 พฤศจิกายน 2556, ุ283-288.

ธนาภา งิ้วทอง. (2560). การประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้และการวิจัยอิงการออกแบบเพื่อพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครู. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นีลเส็น ประเทศไทย. (2559,3 สิงหาคม). พฤติกรรมการใช้ ‘สมาร์ทโฟนไทย’ ไทย 59. https://www.brandbuffet.in.th/2016/08/ nielsen-obile-thailand-behaviors/

ประคอง กรรณสูต. (2535). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินันทา ฉัตรวัฒนา. (2564). นวัตกรรมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการศึกษาในผู้เรียนยุคดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(1), 82-90.

พีรพนธ์ ตัณฑ์จยะ. (2561). การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1), 39-46. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/114360

ศิรพล เจียมวิจิตร. (2558). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภค กรณีศึกษา ศูนย์การค้า เดอะฮับ รังสิต จังหวัดปทุมธานี. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ จุลทับและจินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(2), 175-194.

สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563 (Thailand Internet User Behavior 2020). https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx

อาลาวีย์ ฮะซานิและณัฐพงษ์ หมันหลี. (2564). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(11). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/247731

Jawdat, A., Obeidat, Q. and Aljanaby, A. (2011). On The Design of User Experience Based Persuasive Systems. Computer and Information Science, 4(4), 90–99.

Jularlark, S., Chatwattana, P. and Piriyasurawong, P. (2021). The Architecture of an Information System for Public Relations via Mobile Application Using In-depth User Experience for Proactive Perception of Information. Journal of Education and Learning, 10(5), 91-101. DOI:10.5539/jel.v10n5p91 https://www.ccsenet.org/journal/index.php/jel /article/view/0/45885

Robert, M. R., Alan, D. and Barbara H. W. (2013). System Analysis and Design (5th ed). John Wiley & Sons, Inc. http://www.uoitc.edu.iq/images/documents/informatics-institute/Competitive_exam/Systemanalysisanddesign.pdf