การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ย่านเมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม และ 2) ศึกษาคุณภาพของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม 3) ศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อ การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา ใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Cochran อ้างอิงกำหนดค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 384 คน จากนั้นทำการสุ่มแบบตามสะดวก (Convenience Selection) โดยจะมีกลุ่มเป้าหมายเป็นทั้งนักท่องเที่ยวคนไทยและชาวต่างชาติ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่าน เมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และ 3) แบบสอบถามการรับรู้ของ นักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม อยู่ในระดับดี (=4.23, S.D.=0.77) 2) การรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลา ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.52, S.D.= 0.57)
Downloads
Article Details
References
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐภร อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป.. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธิดาใจ จันทนามศรี. (2560). เนื้อหาและรูปแบบในการสื่อสารผ่านสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อสร้างการรับรู้และจดจําบนเฟซบุ๊กแฟนเพจของ อินโฟกราฟิก ไทยแลนด์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นันรณา จำลอง. (2558). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปัญจพร เกื้อนุ้ย. (2561). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พนิดา ตันศิริ. (2553).โลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented reality. วารสารนักบริหาร, 30(2),169-175
พีรพนธ์ ตัณฑ์จยะ. (2556). การเรียนรู้กระบวนการ Routing Protocol ด้วย Augmented Reality.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
อีสเทิร์นเอเชีย, 7 (2), 51-55.
ไพโรจน์ สมุทรักษ์, เกียรติพงษ์ ยอดเยี่ยมแกร. (2561). การพัฒนาแอพพลิเคชันโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนด้วยโปรแกรม UNITY 3D และ VUFORIA. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์, 22 (1) ,13-17.
ภาสกร ใหลสกุล. (2553). Augmented Reality (AR) ความจริงต้องขยาย. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://sipaedumarket. wordpress.com/2014/04/20/augmented-reality-ar/.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ [สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562].
วรวัฒน์ เดชวงค์ยา. (2551). การรับรู้และเข้าถึงสื่อสาธารณสุขของประชาชน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริลักษณ์ แคล้วคลาด. (2562). ผู้ว่าฯ สงขลา ประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลก. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://news.gimyong.com/article/ [สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562].
ศูนย์อาเซียนศึกษา. (2560).แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาเพื่อเพิ่มนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนใต้.[ออนไลน์] ได้จาก: https://asean.psu.ac.th/tourism-overview.php [สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562].
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา. (2559). ส่งเสริมกิจกรรม Street Arts ย่านเมืองเก่าสงขลา-เล่าเรื่องผ่านจิตรกรรมฝาหนัง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://news.gimyong.com/ar/ [สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562]
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ (2549). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ Printed media. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์. หนังสือ สวนสุนันทา.
SiamVR. (2561). การนำเทคโนโลยี AR มาใช้งานในวงการธุรกิจนั้นดีอย่างไร. ใต้.[ออนไลน์]. ได้จาก: https://www. siamvr.com/augmented-reality/how-ar-is-important-for-businesses/.สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562]