การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ชิตชนก ทิพย์โสดา
ฐาปนี สีเฉลียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศฯ เพื่อประเมินคุณภาพของระบบสารสนเทศฯ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้ระบบสารสนเทศฯ ผู้วิจัยได้นำขั้นตอนในการพัฒนาระบบตามแนวคิดในการพัฒนาระบบ ซึ่งประกอบด้วยหลักการพัฒนาระบบไว้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษา การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ การนำระบบไปใช้ มาใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศฯ การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของระบบสารสนเทศฯ นำ 2 ขั้นตอนในการพัฒนาระบบตามแนวคิดในการพัฒนาระบบ ซึ่งประกอบด้วยหลักการพัฒนาระบบไว้ 5 ขั้นตอน คือ การศึกษาระบบ และการวิเคราะห์ระบบ มาใช้ในการศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของระบบสารสนเทศ ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาระบบ สารสนเทศฯ นำ 3 ขั้นตอนในการพัฒนาระบบตามแนวคิดในการพัฒนาระบบ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอนหลักคือ การออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ และการนำระบบไปใช้ มาใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศฯ ระยะที่ 3 ประเมินคุณภาพของระบบสารสนเทศฯ และ ระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) ระบบสารสนเทศฯ 3) แบบประเมินระบบสารสนเทศสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา และด้านการออกแบบระบบสารสนเทศและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 4)แบบประเมินคุณภาพของระบบสารสนเทศฯ 5)แบบประเมินความพึงพอใจใน การใช้ระบบสารสนเทศฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลในประเด็นต่างๆ จากการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร จำนวน 7 คน การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน การประเมินคุณภาพของระบบสารสนเทศ และการประเมินความพึงพอใจ จากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 40 คน แล้วนำมาเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า


1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของระบบสารสนเทศฯ พบว่า องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสารสนเทศฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน เนื้อหาในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมิน) เครื่องมือในการประเมินผลการปฏิบัติงาน และผู้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2) ด้านกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ได้แก่ กระบวนการทำงานของระบบ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 3) ด้านผลผลิต (Output) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ รายงานผลการประเมินการปฏิบัติราชการฯคุณภาพระบบสารสนเทศฯ และความพึงพอใจในการใช้ระบบสารสนเทศฯ และ 4) ด้านข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ การให้ข้อมูล ย้อนกลับผู้ถูกประเมิน และให้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับผู้ประเมิน


2. ผลการสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศฯ พบว่า ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น 1) ด้านเนื้อหา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก          ( gif.latex?\bar{x}= 4.14 , S.D. = 0.49) และ 2) ด้านการออกแบบระบบสารสนเทศและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  ( gif.latex?\bar{x}= 4.95 , S.D. = 0.08) 3. ผลการประเมินคุณภาพของระบบสารสนเทศฯ พบว่า ผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อระบบสารสนเทศอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ 1) ด้านตรงตามความต้องการ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.15 , S.D.=0.52) 2) ด้านสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.07, S.D.=0.47) 3) ด้าน ความง่ายต่อการใช้งาน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.10, S.D.=0.40) 4) ด้านประสิทธิภาพ มีคุณภาพอยู่ ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.13, S.D.=0.44) และ 5) ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.08, S.D.=0.49)


4. ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้ระบบสารสนเทศฯ พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจ ในการใช้ระบบสารสนเทศ ดังนี้ 1) ด้านความปลอดภัยของข้อมูล มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.63 , S.D.=0.54) 2) ด้านความยากง่ายต่อการใช้ระบบ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.44, S.D.=0.38) และ 3) ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก   ( gif.latex?\bar{x}=4.41 , S.D.=0.34)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

งานบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2563). แผนพัฒนาบุคลากร ประจำปี งบประมาณ 2563, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์และคณะ. (2523) . ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

---------. (2537). สัมมนาการวิจัยและทฤษฎีทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ธณัฐชา รัตนพันธ์. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตรคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ . คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช. 85-96.

ประพาพร มันคง และ มานิตย์ อาษานอก. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามวิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พรวีนัส ข่วงสิมมา. (2560). การพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ สำนักงานสถิติจังหวัด. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). การพัฒนาองคการ (หนวยที่ 1-7). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รจนา วานนท์. (2562). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 4 (2) 46-57

วีราภรณ์ เชยรัมย์. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภาวดี อุตรมาตย์. (2557) .การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาชนเทพ อัครสุวรรณ์ . (2558).การศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบเทคโนโลยี สารสนเทศทางการบัญชีในองค์กรภาครัฐ. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2551). ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจํากัด (มหาชน).

Association for Educational Communications and Technology : AECT (1994). Education for Educational Communications and Technology : Definition and Glossary of Terms. Washington D.C. : Association for Educational Communications and Technology.

Rapina, Rapina, et al. (2020). Empirical Study on Banking in Indonesia: Factors Affecting Information Systems Quality. Proceedings of the 2020 12th International Conference on Information Management and Engineering. 51-67.

Thatawong, P. O., & Jiamsanguanwong, A. (2020). User requirement and usability testing framework for information system development: Case study of financial institution. In IOP Conference Series: Materials Science and Engineering 784 (1)p. 012032).