การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริม เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

รัชชานนท์ ดิษเจริญ
อัศวนนทปกรณ์ ธเนศวีรภัทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริม เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 5 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 5 ท่าน 2) ผู้ประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน และอาสาสมัครนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ผ่านประสบการณ์เรียน เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึก
การสนทนากลุ่มออนไลน์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานและลักษณะของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยา ผสมผสานความเป็นจริงเสริม เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 2) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานระหว่างชุดทดลองวิทยาศาสตร์และความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ประกอบด้วย 4 หัวเรื่อง และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ แบ่งเป็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคการผลิตสื่อการเรียนรู้ จำนวน 25 ข้อ และอาสาสมัครนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 13 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มออนไลน์ได้เสนอแนะลักษณะของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่ควรผลิตขึ้นดังนี้ อธิบายคำศัพท์เฉพาะก่อนให้นักเรียนใช้สื่อ แสดงขั้นตอนการใช้สื่อเป็นลำดับเพื่อให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาชีววิทยาได้ง่ายขึ้น รวมถึงสื่อที่จะพัฒนาควรมีความใหม่และส่งเสริมให้นักเรียนอยากที่จะเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อนี้ และผู้ร่วมการสนทนาทุกคนเห็นด้วยกับการผสมผสานเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) กับชุดทดลองวิทยาศาสตร์ 2) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริม เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ที่ผู้วิจัยออกแบบและสร้างขึ้นมีลักษณะดังนี้ เนื้อหาบทเรียนในสื่อนี้ประกอบด้วย 4 หัวเรื่อง ได้แก่ การเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยเทคนิคพีซีอาร์ การตรวจสอบการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยเจลอิเล็กโทรฟอรีซิส ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอมาใช้ประโยชน์ทางด้านต่าง ๆ และความปลอดภัยทางชีวภาพและผลกระทบทางด้านสังคมในการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ โดยใช้ความเป็นจริงเสริม (AR) แสดงเนื้อหาบทเรียน คำศัพท์เฉพาะ ขั้นตอนการทดลอง รวมไปถึงแสดงกระบวนการหรือปฏิกิริยาที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าผ่านภาพหรือวีดิทัศน์และข้อความ และใช้อุปกรณ์ทดแทนแทนการใช้อุปกรณ์จริงที่มีขนาดไม่เหมาะสมและราคาสูง เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติใกล้เคียงกับการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ และผลการประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัครนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 (SD = 0.58) และ 4.23 (SD = 0.64) ตามลำดับ และจัดอยู่ในระดับเห็นด้วยมากเช่นเดียวกัน


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. (2559). แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

ณัฐญา นาคะสันต์ และศุภรางค์ เรืองวานิช. (2559). Augmented Reality: เติมชีวิตให้สื่อสิ่งพิมพ์ทางการศึกษา; Augmented Reality: Bringing Life to Educational Publications. ROMPHRUEK JOURNAL, 34(2), 3-50.

ธนบดี อินหาดกรวด. (2560). การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2555). สาระสำคัญของกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย (พ.ศ. 2555-2564). กรุงเทพฯ: เปนไท พับลิชชิ่ง.

สุนัดดา โยมญาติ. (2558). สื่อการสอน เรื่อง พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์การโคลนยีน. นิตยสาร สสวท., 197(44), 3-7.

Asikin, N., and Daningsih, E. (2018). Development Audio-Visual Learning Media of Hydroponic System on Biotechnology Topic For Senior High Schools. Advances in Social Science, Education and Humanities Research (ASSEHR), 174, 197-201.

Astra, I. M., Nasbey, H., and Nugraha, A. (2015). Development of an android application in the form of a simulation lab as learning media for senior high school students. Eurasia Journal of athematics, Science and Technology Education, 11(5), 1081-1088.

Bahar, M., Johnstone, A. H., and Hansell, M. (1999). Revisiting learning difficulties in biology. Journal of Biological Education, 33(2), 84-86.

Cerrato, A., Siano, G., and De Marco, A. (2018). Augmented reality: from education and training applications to assessment procedures. Qwerty-Open and Interdisciplinary Journal of Technology, Culture and Education, 13(1).

Chang, R.C., and Yu, Z.S. (2017). Application of Augmented Reality technology to promote interactive learning. Paper presented at the 2017 International Conference on Applied System Innovation (ICASI).

Fitriani, O., Susilawati, S., and Linda, R. (2020). Development of Interactive Learning Media using Autoplay Studio 8 for Hydrocarbon Material of Class XI Senior High School. Journal of Educational Sciences, 4(2), 296-308.

Goldschmidt, M., and Bogner, F. X. (2016). Learning about genetic engineering in an outreach laboratory: Influence of motivation and gender on students’ cognitive achievement. International Journal of Science Education, 6(2), 166-187.