ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

บุษรา กล่อมเย็น
ไสว ฟักขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนก่อนเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองกับหลังเรียน (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองกับเกณฑ์ร้อยละ 65 (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง กับหลังเรียน และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองกับเกณฑ์ร้อยละ 65 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 5 ห้อง 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียน สารสาสน์วิเทศคลองหลวงจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น และความน่าจะเป็น จำนวน 7 แผน แบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภา ลาดพร้าว

จิดาภา ลูกเงาะ พรรณทิพา ตันตินัย และคณะ.(2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิศาสตร์ เรื่องฟังก์ชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 20.

เจนจิรา สรสวัสดิ์ และคณะ.(2561). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ SSCS. วารสารคณิตศาสตร์, 63(696), 42.

ดวงตะวัน งามแสง. (2558). ผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โดยใช้กิจกรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา

นุชนาถ โชติบุญ (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่องเซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. โรงเรียนบัวขาว.

พัชรี เรืองสวัสดิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคืดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษาแนวคิดทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.

ไพจิตร สดวกการ. (2539). ผลของการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และความสามารถในการถ่ายโยงการ เรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ศิวนนท์ นิลพานิชย์. (2560). กลยุทธการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นที่ 1. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 7(2), 9.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สุนิศา ภามาส และคณะ (2561). ผลการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคนอสตรัคติวิสต์ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 13(2).

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2557). การศึกษาวิธีสอน เทคนิคการสอน และพัฒนารูปแบบการสอน คณิตศาสตร์ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่น ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดอ่างทอง. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika, 16(3), 297-334

Llyas,B.M., Rawat, K. J., Bhatti, M. T., & Malik, N (2013). Effect of teaching of algebra through social constructivis approach on 7th grader’ learning outcomes in Sindh (Pakistan). Online Submission, 6(1), 151-164

Narli, S. (2011). Is constructivist learning environment really effective on learning and long-term knowledge retention in mathematics example of the Infinity concept. Educational Research and Review, 6(1), 36-49.