การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

นิพาดา นวนลิน
ไสว ฟักขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผน การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์และ แบบสอบถามพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา ลาดพร้าว

ฉันทนา ปาปัดถา และ นภาพร ภู่เพ็ชร์. (2562). การสังเคราะห์สาเหตุผลกระทบการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในกลุ่มวัยรุ่นไทย. เอกสารประกอบการชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุพรรณบุรี.

ดุลยวิทย์ ภูมิมา. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ธัญนันท์ กระดาษ. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการใช้สื่อสังคมคลาวด์และโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ฝ่ายบริการวิชาการและส่งเสริมการวิจัยสำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พินวา แสนใหม่. (2563). การรังแกผ่านไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ปฏิรูปการเรียนรู้: ปฏิรูปการศึกษากลับทางจากล่างขึ้นบน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2560). รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์: รายงานหลัก (Final report) โครงการสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการโทรคมนาคมของประชากรไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กสทช.

มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. (2561). การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ Cyberbullying. กรุงเทพฯ: นัชชาวัตน์.

ล้วน สายยศ และ อังคณา. (2558). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิชุดา วงศ์เจริญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สรานนท์ อินทนนท์ และ พลินี เสริมสินสิริ. (2561). การศึกษาวิธีป้องกันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. เอกสารประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 9 มิถุนายน 2561,

สง่า ภู่ณรงค์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของศึกษาธิการอำเภอตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอและความพึงพอใจของข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการในเขตการศึกษา 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารสถานศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภามาส เทียนทอง. (2553). พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2560). การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์: ผลกระทบและการป้องกันของในวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(4), 640-648.

โสภา ช้อยชด. (2560). ผลการจัดเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวล สารสนเทศทาง สังคมที่มีต่อผลสัมฤทฺธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gallagher, A. (1997).Problem-Based Learning: Where did it come from Whatdoes it do and Where is it going?. Journal for the Education of the Gifted, 20(4), 332-362.

Luthans, F and Youssef, M. (2004). Human, Social and Now Positive Psychological Capital Management: Investing in People for Competitive Advantage. Journal for Organizational Dynamics, 33(2), 143-160.

Patchin, W. and Hinduja. (2012). Cyberbullying Prevention and Response: Expert Perspectives. New York: Routledge.