การพัฒนาแบบประเมินความสามารถของเด็กออทิสติกในการส่งต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุรินทร์นา หมื่นปัดชา
ญาณภัทร สีหะมงคล

บทคัดย่อ

การประเมินนักเรียนออทิสติกที่เรียนในศูนย์การศึกษาพิเศษในประเทศไทยยังจำเป็นต้องใช้แบบประเมินความสามารถเพื่อส่งนักเรียนออทิสติกไปเรียนต่อในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมวัยสามารถเรียนร่วมในโรงเรียนได้ ดังนั้นการวิจัยมีความมุ่งหมายของการวิจัย ครั้งนี้ 1. เพื่อสร้างแบบประเมินความสามารถของเด็กออทิสติกในการส่งต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เพื่อหาคุณภาพของแบบประเมินความสามารถของเด็กออทิสติกในการส่งต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนเด็กออทิสติก จำนวน 20 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นครูผู้สอนเด็กออทิสติกโดยเฉพาะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถของเด็กออทิสติกในการส่งต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 2 ด้าน คือ ด้านพัฒนาการ ด้านวิชาการ มีระดับการประเมิน 3 ระดับ คือ 0 หมายถึง ทำไม่ได้เลย 1 หมายถึง ทำได้โดยใช้การกระตุ้นเตือน 2 หมายถึง ทำได้ด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในครั้งนี้ 1 คุณภาพของแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในครั้งนี้ IOC (ความสอดคล้องรายข้อของแบบประเมิน), rxy (ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน), α (ความเชื่อมั่นรายด้าน) ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า


1. ได้แบบประเมินความสามารถของเด็กออทิสติกในการส่งต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ ด้านพัฒนาการอยู่ในระดับ ดี ด้านวิชาการอยู่ในระดับ ดี


2. คุณภาพของแบบประเมินความสามารถของเด็กออทิสติกเพื่อส่งต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานจากการตรวจสอบเครื่อง 3 รอบ แล้วทดลองใช้แบบประเมินความสามารถของเด็กออทิสติกจริง ได้คุณภาพจากความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินเครื่องมือมีคุณภาพ ดังนี้ ด้านพัฒนาการ α (ความเชื่อมั่น) = 0.824 ด้านวิชาการ(การอ่าน) α (ความเชื่อมั่น)  = 0.824 ด้านวิชาการ        (การเขียน) α (ความเชื่อมั่น) = 0.818 ด้านวิชาการ (การคิดคำนวณ) α (ความเชื่อมั่น) = 0.826


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เบญจพร ปัญญายง. (2545). คู่มือช่วยเหลือเด็กบกพร่องด้านการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ผดุง อารยะวิญญู. (2544). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ราชกิจจานุเบกษา เลม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๘ ก ุ

เพ็ญแข ลิ่มศิลา (2541) ปัญหาทางจิตใจของเด็กพิการที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม การรักษาโรคออทิสซึม. สมุทรปราการ : ช.แสงงามการพิมพ์.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัันเพ็ญ บุุญประกอบ (2539) ปัญหาน่าปวดหัวเจ้าตัวเล็ก. กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้งท์.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.