การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความต้องการจำเป็นและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง-พูดภาษาจีน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง-พูด ภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาจีน และกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ในเขตกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด และพื้นที่ห่างไกล ในประเทศไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยมีข้อคำถามแบบตรวจสอบรายการ แบบจัดอันดับ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Need Index (PNIModified) ในการจัดลำดับความสำคัญ ของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์ในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ มากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 2.1) ด้านการพัฒนาทักษะฟัง-พูดภาษาจีน คือ การรู้คำศัพท์ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารอยู่ในลำดับที่ 1 รองลงมาคือทักษะการพูดภาษาจีน และทักษะการสื่อสารภาษาจีน (การโต้ตอบ) ตามลำดับ 2.2) ด้านการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง–พูดภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาคือ การใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้สารภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร มีดัชนีลําดับความสําคัญของความต้องการจําเป็นสูงสุด รองลงมาคือการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ภาษาจีน และการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน ตามลำดับ 3) ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า การใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อนของโมไบล์แอปพลิเคชันเป็นปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความสะดวก รวดเร็ว ในการใช้งาน และความน่าเชื่อถือของโมไบล์แอปพลิเคชัน ตามลำดับ
Downloads
Article Details
References
จินตนา วีระปรียากูร. (2563). การผลิตบัณฑิตปฐมวัย ท่ามกลางกระแส Digital Disruption ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 7(2), 64-74.
ชะเอม สังสีแก้ว. (2562). ปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาจีนสำหรับนักเรียนและนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 373-382.
ณภัทรา เกียรติพงษ์. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่นเรียกรถยนต์โดยสารของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ตุลยนุสรญ์ สุภาษา, และ ฉี เสวียหง. (2560). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(1), 115-124.
Thum Namprom. (2563). Learning Experience Design… การออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้. [ออนไลน์] ได้จาก https://reder.red/learning-experience-design-20-02-2020/ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 24 ตุลาคม 2563].
ทิพาวรรณ ศิลวัฒนานุสานติ์, นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ, และ ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์. (2563). ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบในชุดบทเรียนออนไลน์เรื่องการเรียนรู้การออกเสียงสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน) บนคลังบทเรียน JFK Online Course. Journal of Information and Learning, 31(2). 37-44.
ธนณัน แจ้งศรีสุข. (15 กันยายน 2563). สัมภาษณ์. ครูสอนภาษาจีน คศ.1. โรงเรียนวังจันทร์วิทยา อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง.
ธันย์จิรา ภูริอุดมเศรษฐ์. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจําคําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวันที่เรียนโดยวิธีสอนแบบสัมพันธ์ขอบความหมาย. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญญารัตน์ มะลาศรี. (2563). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 7(1), 33-39.
นงลักษณ์ วิรัชชัย, และ สุวิมล ว่องวาณิช. (2541). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพาฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปฐมพร ฉิมพาลี, อุทิศ บำรุงชีพ, และ วิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2562). การพัฒนาชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐานโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(5), 127-138.
ภัสราพร รัตนชาติ และ ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2557). ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่มีชื่อเสียงและกลยุทธ์การค้าปลีกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางบนห้างสรรพสินค้าของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์, 28(88), 385-407.
ยุพิน จันทร์ศรี. (2546). ผลการใช้เกมประกอบการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
วัชราภรณ์ จูฑะรงค์. (2560). หนังสือเรียนภาษาจีนกับการพัฒนาทักษะภาษาจีนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(1), 1-16.
วัฒนา พลาชัย, และ วินัย เพ็งภิญโญ (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ในรายวิชาการเขียนเว็บไซต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข”. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(1), 186-200.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18.
สืบวงศ์ ชื่นสมบัติ, และ สิริกัญญา มณีนิล. (2563). การออกแบบการเรียนการสอนบนโมบายเลิร์นนิง. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 15(18), 45-59.
สือ ยี่. (2550). ผลการสอนโดยใช้เกมที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุทธิพงศ์ สุวรรณเดชากุล. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานของช่างไฟฟ้า การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5. สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อติวงศ์ สุชาโต. (2551). เทคโนโลยีเสียงพูดในเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือและการเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย. ใน มงคล เดชนครินทร์, สุภาพรรณ ณ บางช้าง และ ชนินทร์ วิศวินธานนท์ (บรรณาธิการ), ตามรอยพระมหาวิศวกรบพิตร. กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abdullah, M.Y., Hussin, S., Hammad, Z.M., & Ismail, K. (2021). Exploring the Effects of Flipped Classroom Model Implementation on EFL Learners’ Self- confidence in English Speaking Performance. Studies in Systems, Decision and Control. [online]. 295, 223 - 241. Available from: https://doi.org/10.1007/978-3-030-47411-9_13 [accessed 28 September 2020].
Huang, M. H., Rust, R. T. (2018). Artificial Intelligence in Service. Journal of Service Research.[online]. 21(2), 155 – 172. Available from: https://doi.org/10.1177/1094670517752459 [accessed 15 September 2020].
Kang, M. (2016). The Application of Communicative Approach in the Teaching of Chinese Listening and Speaking to Thai Middle School. Xi'an: Xi'an International Studies University, China.
Lang, J. (2019). What impacts L2 Chinese pragmatic competence in the study abroad context?.Chinese as a Second Language. [online]. 54(3), 191 – 220, Available from:https://doi.org/10.1075/csl.18001.lan [accessed 28 September 2020].
Xie, Y. (2019). Motivation of ideal Chinese L2 self and global competence A case study on postsecondary Chinese language learners. Chinese as a Second Language. 53(2), 163-186, [online]. Available from: https://doi.org/10.1075/csl.17023.xie [accessed 28 September 2020].
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Edition 3. New York: Harper and Row Publications.