ห้องเรียนออนไลน์สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เรียนรวมในรายวิชาปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์เป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดห้องเรียนออนไลน์สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเรียนรวมในรายวิชาปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์เป็นฐาน องค์ประกอบสำคัญประกอบด้วย 1) การวางแผนและการจัดการ 2) การออกแบบสื่อการสอนในห้องเรียนออนไลน์ที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน (Universal Design) 3) กิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ และ 4) ช่องทางการติดต่อสื่อสาร โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนคือ 1) การวางแผนการสอนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน 2) การจัดการเรียนการสอนและใช้สื่อที่เป็นธรรมสำหรับทุกคน 3) ปฏิบัติการจากประสบการณ์ตรงสร้างทักษะปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ 4) การให้คำแนะนำและสะท้อนกลับ แนวทางการดังกล่าวสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนทั้งปวงในการขับเคลื่อนการเรียนรวมในยุคดิจิทัล ได้เรียนรู้และรับประสบการณ์ที่มากกว่าเนื้อหารายวิชา แต่ยังคงเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
Downloads
Article Details
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2552). ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 126, ตอนพิเศษ 77 ง, 2-5.
ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2562). การศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. [ออนไลน์] ได้จาก http://www.royin.go.th/ wp-content/uploads/2019/06/การศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม-รศ.- ดร.ดารณี.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563]
บุบผา เรืองรอง. (ม.ป.ป.). การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (Learning by doing). [ออนไลน์] ได้จาก http://taamkru.com/th/
การเรียนรู้โดยการลงมือทำ [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563]
ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พีเออาร์ด.
ศรียา นิยมธรรม และคณะ. (2546). การเรียนร่วมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิพ เพลส.
สธ.แถลง พบคนขับแท็กซี่ ติดไวรัสโคโรน่า เป็นคนไทยรายแรก ไม่มีประวัติไปจีน. (2563). [ออนไลน์] ได้จาก https://www. thairath.co.th/news/local/bangkok/1761053 [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563]
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การติดตามและการประเมินผลการจัดการศึกษาเรียนรวม
สำหรับเด็กพิการและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา: กรุงเทพฯ.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาด
ของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)). [ออนไลน์] ได้จาก
https://www.ops.go.th/main/images/2563/muaAdmin/corona/COVID_3.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563].
อำนาจ วัดจินดา. (2560). การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning). [ออนไลน์] ได้จาก https://hrcenter.co.th/file/ columns/hr_f_20170509_162229.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563]
Clark, R. C., & Mayer, R. E. (2003). e-learning and the science of instruction: Proven guideline for consumers and
of multimedia learning. New York: John Wiley & Son.
Crow, K. L. (2008). Four Types of Disabilities: Their Impact on Online Learning. TechTrends, 52(1), p. 51-54.
Kemmanat Mingsiritham and Gan Chanyawudhiwan. (2020). Experiment of the prototype of online learning
resources on massive open online course (MOOC) to develop life skills in using technology media for
hearing impaired students. International Journal of Emerging Technologies, 15(3), p. 242-249.
Long, G. L., Marchetti, C., & Fasse, R. (2011). The Importance of Interaction for Academic Success in Online Courses with Hearing, Deaf, and Hard-of-Hearing Students. The International Review of Research in Open and Distance Learning, 12(6), p. 1-19.