การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยด้านความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

มนตรี วงษ์สะพาน
ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์
สุรเชต น้อยฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยด้านความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัย ด้านความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยด้านความซื่อสัตย์สุจริต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนนิคมกุฉินารายณ์หมู่ 6 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยด้านความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียน (3) แบบประเมินพฤติกรรมการมี วินัยด้านความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียน (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัย ด้านความซื่อสัตย์สุจริต สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) และการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (EI) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยด้านความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/83.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด 2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยด้านความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าเท่ากับ 0.5229 หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 52.29 3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยด้านความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความพึงพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.51 , S.D. = 0.67)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2559). คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ธนบุรี.

เจนจิรา แสงไกร. (2560). การปลูกฝังเรื่องค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต. [ออนไลน์] :ได้จาก https://janene1155.wordpress.com

[สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560].

ดุษฎี โยเหลา. (2535). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูหลักเด็กในประเทศไทยโดยใช้การวิเคราะห์เมต้า. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

นันท์มนัส รอดทัศนา. (2554). การจัดทำคู่มือจัดกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ

บางบอน. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงพันธ์ โพธิ์ศรี. (2555). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริตส้าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

วิทยานิพนธ์ (ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2560). ความซื่อสัตย์ จิตสำนึกที่ต้องเร่งปลูกฝังแก่เด็กไทย. [ออนไลน์] : ได้จาก https://minthanissara.

wordpress.com [สิบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560].

ศิริกุล อิศรานุรักษ์ และปราณี สุทธิสุคนธ์. (2550). “การอบรมเลี้ยงดูเด็ก,” วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 5 (1) 105-118

สิริกร สินสม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด

นนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). การวัดและประเมินแนวใหม่ : เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาการ

ศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักป้องกันการทุจริต 2 สำนักงาน ป.ป.ช. (2546). การเสริมสร้างอุดมการณ์ความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่เยาวชน ในสถานศึกษา.

[ออนไลน์] ุ wfhจาก http://www.moe.go.th/honest/.[สิบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560].

อารี พันธ์มณี. (2543). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ.