การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคำล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพ3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสื่ออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพและ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสื่ออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบ
ภาพ 3) แบบประเมินทักษะการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 4)แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2ที่เรียนจากหนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพ มีประสิทธิภาพ 84.62/84.46 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2) ผลการเปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ) 3) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพเท่ากับ 0.70 แสดงว่านักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70
4) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมคำคล้องจองประกอบภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.60 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 ซึ่งหมายความว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับชอบมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส.
-------.(2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ :เบรน-เบสบุ๊คส์.
จุไร พรหมวาทย์. (2547). การสร้างหนังสือภาพสำหรับฝึกทักษะการอ่านออกเสียงของนักเรียนระดับเด็กปฐมวัย.การค้นคว้า แบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นาถศจี สงค์อินทร. (2559). การใช้ชุดกิจกรรม BBL (Brain Based Learning) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัย.
บัณฑิตา อินสมบัต.(2557). ประถมศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557. โรงเรียนบ้านสมอ.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เจาพระยาระบบการพิมพ์.
รอยพิมพ์ ทิพย์โภชน์. (2557).ผลการใช้หนังสือเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาการพูดด้วยการจัดกิจกรรมคำคล้องจอง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. หลักสูตรและการสอน.ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ลออ ชุติกร. (2547). Kids and School. 4 (44): 6-7
วันชอน แด้แก้ว. (2557). รายงานการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังการพูด โดยใช้นิทานคำคล้องจองประกอบภาพ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหมอแปง.โรงเรียนบ้านหมอแปง.
ตุ๊กตา สิมาเลาเต่า. (2560). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1.
สมศรี ธรรมไชย. (2556). การใช้คำคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การวัดและประเมินแนวใหม่:เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาการศึกษาปฐมวัยคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
______. (2550). การวัดประเมินเด็กแนวใหม่. กรุงเทพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิทย์ ชัยเพชร. (2554).การสอนคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.
อารมณ์ สุวรรณปาลและปรีชา เนาว์เย็นผล. (2545). พัฒนาการทางภาษาสาหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.