การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญา ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมและประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2561จำนวน 16คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญา จำนวน 16แผน 2)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณจำนวน 8 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบประเมินความสามารถด้านอภิปัญญา และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหา การใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสนใจการเรียนรู้ในระดับมากในประเด็นต่างๆ ได้แก่ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ การเรียนรู้โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง และการประเมินโดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง 2. ผลพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ค่าคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.68/77.73 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
3. ผลการจัดเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏดังนี้
3.1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 การศึกษาความสามารถด้านอภิปัญญาของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถด้านอภิปัญญาโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กีรติวิทย์ สุวรรณธรรมา. (2549). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการสอนโดยใช้ยุทธวิธีเมตาคอกนิชั่นกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โฆษิต อินทวงศ์. (2545). การปฏิรูปการศึกษานโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จันทนา บุตรดา. (2554). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การคิดวิเคราะห์เขียนเชิงสร้างสรรค์ บทร้อยกรองโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ฉลวย ม่วงพรวน. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. (2557). จิตวิทยาการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การสอนซ่อมเสริม : เติมเต็มศักยภาพผู้เรียน.กรุงเทพฯ : บริษัททวีพรินท์.
ถิรนันท์ แซ่เอียว และกิติพงษ์ ลือนาม. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ฟังก์ชันและ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กลวิธีเมดาคอกนิชัน. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 3(4) 101-103.
ธวัลพร หอมวงษ์. (2541). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านโดยใช้เทคนิคเมต้าคอกนิชั่น.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2554). การสอนการคิด. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
นันทนา ลีลาชัย. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยผสมผสานแนวคิดอภิปัญญา การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และชุมชนการเรียนรู้แบบร่วมงานในชั้นเรียนสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : เอสอาพริ้นติ้ง.
เผชิญ กิจระการ. (2544). “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2)” วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7 .: 44 - 62 ;
พุธทิตา ดอนฟุ้งไพร. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที3 ที่เรียนแบบร่วมมือและการเรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธีและเทคนิค การสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
รัศมี ศรีพะยอม. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรือง หลักการใช้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา และการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
โรงเรียนครบุรี. (2559), สารสนเทศฝ่ายวิชาการโรงเรียนครบุรี. วิชาการ.เอกสารอัดสำเนา
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง. (2559). รายงานการประชุมฝ่ายวิชาการโรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง. เอกสาร อัดสำเนา
ลักขณา สริวัฒน์. (2558). การรู้คิด. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ศรชัย มุ่งไธสง. (2560). “สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนบนพื้นที่สูง กลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย,” วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 10 (ฉบับพิเศษ) :
ศิรินภา อิฐสุวรรณศิลป์. (2548). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบของร่างกายสำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 ในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภิสรา ทองโพธิ์. (2550). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สวรรญา โพธิ์คานิช. (2556). ความสำคัญของการอ่านหนังสือ.[ออนไลน์] ได้จาก https://www.dek-d.com/ board/view/3051407/.[เมื่อ 15 กรกฏาคม 2562]
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน.กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุจิต เหมวัล. (2555). ศาสตร์การสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ. ขอนแก่น : ทรัพย์สุนทรการพิมพ์.
สุเทียบ ละอองทอง. (2545). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจโดยใช้ยุทธศาสตร์ เมตาคอกนิชัน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2542). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). 20 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2556). รายงานการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสาม พ.ศ.2554 - 2558. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน).
Heathers, Glan. (1964). A Working Definition of Individualized Instructional. Journal the Educational Leadership. 8: 342-344.
McNeil, J.D. 1984. Reading Comprehension : New Direction for Classroom Practice.Glenview, Illinois : Scott, Foresman and Company.
Rubin, D. (1993). A practical Approach to teaching Reading 2 nd ed.Massachusetts. Allyn and Bacon. Tompkins, G.E., & Hoskisson, K. (1991). Language arts: Content and teachingstrategies. New York: Merrill, an imprint of Macmillan Publishing Company.
Wallerstein. (1995). Dictionary of Psychology. Maryland : Penguin Book.