การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ภาณุพงศ์ แก้วบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ 3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกลางดงปุณณวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ จำนวน 6 แผน ใช้เวลาในการสอนจำนวน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ชุด รวม 50 ข้อ แบบทดสอบมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .38 – .77  ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .20 – .84 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบมีค่าเท่ากับ 0.55 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบสอบถามปลายปิดแบบมาตรประเมินค่า จำนวน 17 ข้อ และแบบสอบถามปลายเปิดจำนวน 1 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า E1/E2 ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ ในการนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างมีค่าประสิทธิภาพ 80.40/80.90
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 40.40 คิดเป็นร้อยละ 80.80 จากนั้นเว้นระยะไป 2 สัปดาห์หลังการทดลองแล้วทดสอบอีกครั้งพบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 41.23 คิดเป็นร้อยละ 82.47 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 หลังการทดลอง 2 สัปดาห์พบว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนไม่แตกต่างกันเมื่อกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์มีค่าคะแนนร้อยละอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
5) นักเรียนมีความพึงพอใจการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56,S.D.=0.51)
 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กฤษติกา การะเกต.(2554). ผลการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ เรื่อง พุทธประวัติพระสาวกและชาวพุทธตัวอย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ, : ม.ป.ท.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : เบรน – เบส บุ๊ค,

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

จิรัชยา เนติศักดิ์. (2553). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

เฉลิมรัตน์ ปลั่งกลาง. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบจิกซอว์ กลุ่มสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

_______. (2551). การประเมินการเรียนรู้. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

ทัศนีย์ สนธิ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เทคนิค กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนกับการสอนตามคู่มือครูของ สสวท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี,

นรินทร ปุยะบาล. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ประชาธิปไตยใบเล็ก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2537). “หน่วยที่ 11 การพัฒนาการเรียนการสอนสังคมศึกษา (1)” ใน ประมวลสาระชุดวิชา สารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาสังคมศึกษา หน้า 118 – 233. นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช,

______. (2543. การเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ : จูนพับลิชซิ่ง,

บุญรักษ์ ชนูนันท์. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

พิสมัย กุมภาพงษ์. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิกซอว์ เรื่อง พุทธประวัติพระสาวก ศาสนิกชนตัวอย่างและชาดก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

วนิดา อารมณ์เพียร. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง การหารทศนิยม และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD และเทคนิค TGT. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,

วรวิทย์ ไชยวงศ์คต. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดเชิงวิพากษ์และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายที่มีรูปแบบการเรียนร่วมมือแบบแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมกับการเรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :แอล ทีเพรส,

วัลลภ กันทรัพย์. (2534). แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา,

วีระ ไทยพานิช. (2529). วิธีสอน. กรุงเทพฯ : ภาคเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เศวตกนิษฐ์ ศรีสนาย. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค Jigsaw สาระ ประวัติศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม,

สมบูรณ์ บุราสิทธิ์. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้สาหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง พลเมืองดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543) การปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

สีอำพร วรวัตร. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดขอนแก่น โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

สุภาพร สิงหศรี. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

สุริยา เพ็งลี. (2552). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

อรพรรณ พรสีมา. (2540). เทคโนโลยีทางการสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเขน,

Johnson, David W. Johnson, Roger T. and Edythe Johnson Holubec. (1990). CIRCLES OF LEARNING: Cooperation in the Classroom. 3rd Corelia Drive Edina, Minnesota.: Interaction Book Company,

Slavin, E. Robert. (1990). Corperative Learning : Theory Research and Practice. New Jersey : PrenticeHall,

______. (1995). Cooperative Learning Theory, Research, and Practice. Maasachusetts: A Simon & Schuter Company,