การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

นาตยา ปานโพธิจาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบพัฒนาการทางด้านความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านตันหยงมะลิ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 11 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 36 ชุด 2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 36 แผน และ 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 4 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ
ดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Samples) 
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.77/82.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2) ระดับพัฒนาการทางด้านความคิดสร้างสรรค์ หลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ค่าดัชนีประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีค่าเท่ากับ 0.6870 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.6870 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.70 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ธิษมาศ แอบพล. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการวาดภาพเป็นกลุ่มเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. [ออนไลน์] ได้จาก http://www.anuban.ac.th/?page_id=52 [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562].

นพคุณ สุขสถาน. (2544). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นาญิยะฮ์ มาหามะ. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น โรงเรียนบ้านมะนังกาหยี.จังหวัดนราธิวาส.

นิตยา แสนพรม. (2560). รายงานการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3. โรงเรียนบ้านทะเลสองห้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. ม.ป.ท.

ปิยวรรณ อภินันท์รุ่งโรจน์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนายกวัฒนากร วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก.

พัชรินทร์ วาวงศ์มูล. (2553). การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. สารนิพนธ์ กศ.ม. , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ลักขณา สริวัฒน์, (2558). การรู้คิด.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส.พริ้งติ้งเฮ้าส์.

วาทินี บรรจง. (2556). ผลการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก อนุบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมปอง ราศี. (2558). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังกวาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 5 (ฉบับพิเศษ) กรกฎาคม 58-64

สาลี สัมพันธรัตน์. (2555). รายงานผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ สิบสอง พ.ศ. 2560-2565. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

หทัยรัตน์ สงสม. (2556). ผลการใช้ชุดการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) อำเภอเมืองจังหวัดยะลา. ยะลา : ม.ป.ท.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ใยใหมครีเอทีฟ กรุ๊ป