การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/4 จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Samply) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อนุบาล จำนวน 36 แผน 18 สัปดาห์ 2) ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จำนวน 5 ชุด 3) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ พบว่า ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.17/83.87 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีค่าเท่ากับ 0.6667 ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.67
4. ความพึงพอใจนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ พบว่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 2.89 หมายถึงมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมา
Downloads
Article Details
References
เจริญตา จาดเจือจันทร์. (2558). การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮ–สโคปเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. Journal of Rajanagarindra, 12 (27), 109-115.
ธีรภรณ์ ภักดี. (2555). การพัฒนาครูปฐมวัยต้นแบบด้านการสร้างชุดกิจกรรมศิลปะจากการเล่านิทานพื้นบ้านของผู้สูงอายุสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2 อำเภอกุมภวาปีที่ส่งเสริมพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Journal of Education Naresuan University), 14 (2), 35-46.
นพคุณ แดงบุญ., (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์. สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นรารัตน์ พจนวิชัย. (2557). การใช้ชุดกิจกรรมประกอบอาหาร เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1. ชุมพร : โรงเรียนวัดปิยะวัฒนาราม,
นฤมล ไกรฤกษ์. (2555). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมศิลปะต่างรูปแบบโรงเรียนวัดดุสิตาราม. (Doctoral dissertation, Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology).
นิตยา แสนพรม.(2561). รายงานการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1. [ออนไลน์] .ได้จาก : https://kruthainews.com/forums/topic/6434 [สืบค้นเมื่อว้นที่ 16 มกราคม 2562]
เบญจา แสงมะลิ. (2555). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
เลิศ อานันทนะ. (2535). ศิลปะในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : กราฟฟิคอาร์ต.
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2555). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546. [ออนไลน์] ได้จาก : http://www.iadth.com [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม, 2559].
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2559). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. [ออนไลน์] ได้จาก http://www.onesqa.or.th/th/index.php [สิบค้นเมื่อวัที 11 กรกฎาคม, 2559].
สำเนียง พุทธา. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารเคมีที่เป็นพิษในอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา.: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อรุณี จิรมหาศาล. (2550). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องเที่ยวเมืองสามชัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.