การพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่ใช้รูปแบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชา และกลุ่มควบคุม ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบปกติ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัญหา 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบสอบถามความต้องการของนักเรียน 4) แบบวิเคราะห์เอกสาร 5) แบบการสนทนากลุ่ม (focus Group) 6) แบบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบอัตนัยจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.84 7) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple choice) มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.40 – 0.70 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.40-0.60 และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.94 8) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 9) คู่มือการใช้รูปแบบ 10) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน รวมเวลา 16 ชั่วโมง 11) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตรฐานประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.42-0.84 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทีแบบไม่อิสระ t-test (Dependent Samples) และสมมติฐานทีแบบเป็นอิสระต่อกันใช้สถิติ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัย ปรากฎดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ทักษะการอ่านเป็นทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา จากการศึกษา สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ พบว่ารูปแบบการสอนที่ใช้สำหรับพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อเข้าใจ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในเทคนิคต่าง ๆ และจากการศึกษาแบบสอบถามความต้องการของนักเรียนพบว่านักเรียนชอบเรียนรู้ในเนื้อหาที่สามารถนำความรู้ไปพัฒนา หรือไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ชอบการเรียนที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง ชอบทำกิจกรรมเป็นกลุ่มมากกว่าเดี่ยว
2. ผลการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ฉบับร่าง) มีความสอดคล้องกันในทุกองค์ประกอบและมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.38, S.D. x̄= 0.50) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.69, S.D. x̄= 0.44 ) และแผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.67, S.D. x̄= 0.44) โดยรูปแบบมีองค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) การจัดกระบวนการเรียนรู้ 4) การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ (Fascination : F1) จูงใจให้เข้าถึง ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้และสร้างสัมพันธภาพร่วมกัน (Fellowship: F2) พึ่งพากันเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นให้นักเรียนสะท้อนในสิ่งที่เรียนรู้ (Feedback: F3) สะท้อนสู่ความเข้าใจ ขั้นที่ 4 ขั้นตอนของการพัฒนา (Fabrication : F4) ได้พัฒนาเป็นชิ้นงาน ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินผล (Final tally: F5) ประเมินค่าการอ่านและการนำเสนอ
3. ผลการทดลองและผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
3.1 ผลการเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบปกติ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษกับการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบปกติ พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.5 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบปกติ พบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.6 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษกับการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบปกติ พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้การอ่านแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.7 พฤติกรรมในการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมในการทำงานกลุ่มเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก (x̄= 3.55, S.D = 0.24)
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 พบว่า ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยประเมินจากความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄= 4.55, S.D. x̄= 0.45) และผลการสอบถามเพื่อรับรองรูปแบบการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบแบบร่วมมือบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.54, S.D. x̄= 0.52 ) นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่านยังได้ลงนามรับรองรูปแบบให้สามารถนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
_______. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
_______. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เกษม ชูรัตน์. (2558). การนําเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ แบบร่วมมือและการจัดการความรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2553). รูปแบบการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [online] ได้จากhttps://www.niets.or.th/. [สืบค้นเมื่อเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560],
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต1. (2558). คู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่มาตรฐานการจัดการเรียนรู้. ชัยภูมิ: สำนักงานฯ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศ.
อรัญ มูลบุญ. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้รูปแบบกาเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Meyors,Chet ; & Jones,Thomas.B. (1993). Promoting Active Learning : Strategies for the college Classroom. San Francisco: Jossey-Bass.
Klingner,J.K. & Vaughn,S. (1999). Promotion Reading Comprehension, Content learning and English Acquisition through Collaborative Strategic Reading (CSR).The Reading Teacher.(7)